2555-10-25

Where Children Sleep : James Mollison


11-year-old Joey, who killed his first deer when he was seven, lives in Kentucky 
with his family.



4-year-old Romanian boy who shares a mattress with his family in the outskirts of 
Rome.



12-year-old Lamine sleeps in a room shared with several other boys in the Koranic 
school in their Senegalese village.



14-year-old Irkena is a member of the semi-nomadic Rendille tribe in Kenya and 
lives with his mother in a temporary homestead in the Kaisut Desert.



14-year-old Prena is a domestic worker in Nepal and lives in a cell-like room in the 
attic of the house where she works in Katmandu.



14-year-old Erien slept on the floor of her favela abode in Rio de Janeiro until the 
late stages of her pregnancy.



15-year-old Risa is training to be a geisha and shares a teahouse with 13 women
in Kyoto, Japan.



10-year-old Ryuta is a champion sumo-wrestler living in Tokyo with his family.



4-year-old Jasmine has participated in over 100 child beauty pageants and lives in 
a large house in the Kentucky countryside.



7-year-old Indira works at a granite quarry and lives in a one-room house near
 Katmandu, Nepal, with her parents, brother and sister.



8-year-old Justin plays football, basketball and baseball. He lives in a four-
bedroom house in New Jersey.



Alyssa lives in a small wooden house with her family in Appalachia.



8-year-old Ahkohxet belongs to the Kraho tribe and lives in Brazil's Amazon 
basin.




9-year-old Dong shares a room with his parents, sister and grandfather, growing 
rice and sugar cane in China's Yunnan Province.


9-year-old Delanie aspires to be a fashion designer and lives with her parents and 
younger siblings in a large house in New Jersey.



9-year-old Jamie shares a top-floor apartment on New York's Fifth Avenue with 
his parents and three siblings. The family's two other homes are in Spain and the 
Hamptons.



9-year-old Tsvika and his siblings share a bedroom in an apartment in the West 
Bank, in a gated Orthodox Jewish community known as Beitar Illit.



Diptychs of People and Their Dream Living Locations



Martino, iOS programmer.
He is a dear friend, I met him at University.
Sometimes he stoles my camera and takes strange pictures.
His dreamland is Amsterdam.






Giulia, pharmacy student.

She and Marco are the loveliest couple I've ever met.
I met her thanks to her boyfriend, who is a drummer.
Her dreamland is Sydney.






Michele, Foursquare superuser and Apple reseller.
I met him at University, he was the first person I talked with.
He is the most quiet person I've ever met.
His dreamland is Iceland.






Carolina, degree in ichthyology. 

We were in the same high school but never talked to each other.
She is a theater actress and a funny person.
Her dreamland is Norway.






Tommaso, law student.

I met him thanks to a magazine where we worked together.
He is my boyfriend and I never know what to gift him for birthday. 
His dreamland is to rebuild his city after the earthquake.






Paolo, iOs programmer.

He loves music and concerts.
Huge Apple fan, he is my housemate.
His dreamland is the countryside.






Marco, dj, creative.

He loves cooking and tasty food, music, having tons of friends.
His ideal job is to say "no" to ugly things and "yes" to awesomness.
His dreamland is Berlin.






Giacomo, departement head in a computer store.

Hard gamer, romantic inside.
I met him at University, he is a pisces like me and we often share the same thoughts.
His dreamland is a videogame.


2555-10-24

กินข้าวพร้อมหน้าลดปัญหาครอบครัวได้



      สังคมในยุคปัจจุบันนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะการที่ทั้งพ่อและแม่ทำงานนอกบ้าน ประกอบกับระบบครอบครัวเดี่ยวที่มีเฉพาะพ่อแม่ลูกมีมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบทำให้การทำอาหารกินด้วยกันอย่างพร้อมหน้าทำได้ยาก ขณะที่การกินข้าวนอกบ้าน เช่นการรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดในรถยนต์ เข้ามาแทนที่มากขึ้น
แม้จะไม่มีตัวเลขการสำรวจจริงมาเปรียบเทียบ แต่ผู้รู้หลายๆ คนเห็นพ้องกันว่า ครอบครัวไทยกินอาหารด้วยกันน้อยลงอย่างน่าเป็นห่วง ไม่กินข้าวมื้อเย็นพร้อมกัน ไม่เที่ยวพร้อมกัน ไม่เยี่ยมญาติ ไม่พูดคุยกันในครอบครัว แสดงว่าสถาบันครอบครัวไทยเสื่อมลงทุกที พร้อมกับปัญหาวัยรุ่นและเยาวชนที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาท้องไม่พร้อมของวัยรุ่น และการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ฯลฯ

      ขณะเดียวกันก็ได้มีการวิจัยพบว่า เยาวชนจากครอบครัวที่กินอาหารด้วยกันที่บ้านบ่อยๆ จะสูบบุหรี่ กินเหล้า ติดยาเสพติด มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึมเศร้า อีกทั้งมีปัญหาที่โน้มเอียงทางฆ่าตัวตาย "น้อยกว่า" เยาวชนจากครอบครัวที่ไม่ค่อยกินอาหารค่ำด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีผลการเรียนดีกว่า การกินผักและผลไม้ อีกทั้งในเรื่องของทักษะการใช้ภาษาและสื่อสารดีกว่าด้วย และในทางสุขภาพการวิจัยยังพบว่า เยาวชนจากครอบครัวที่ไม่ค่อยกินอาหารค่ำด้วยกันที่บ้าน เป็นโรคอ้วนมากกว่าปกติ นอกจากนี้ยังทำให้ประจำเดือนมาเร็วกว่าปกติด้วยเช่นกัน
ในโอกาสครบรอบ 18 ปีของ “นิตยสารครัว” นอกจากมีการเผยแพร่ข้อมูลข้างต้นแล้ว ยังได้เชื้อเชิญคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และนายบุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์ สถาปนิกรางวัลเหรียญทองด้านสถาปัตยกรรมยอดเยี่ยม จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ร่วมถ่ายทอดเรื่องเล่าบนโต๊ะอาหารของตน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นการสร้างความอบอุ่นให้สถาบันครอบครัว

      คุณหญิงจารุวรรณระบุว่า “การกินข้าวร่วมกันเป็นความรักความห่วงใย สายสัมพันธ์ของครอบครัว คนเราไม่จำเป็นต้องรอให้ตายจากกันแล้วค่อยมาคิดถึงกัน บนโต๊ะอาหารมันคือสิ่งที่ผูกพันกันให้คิดถึงกันได้ ดังนั้นการรับประทานอาหารร่วมกันทำให้เราได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพราะเราจะคอยสังเกตคนโน้นคนนี้ ชอบกินอะไร ไม่ชอบกินอะไร จะช่วยให้เราเทกแคร์ดูแลกันดีขึ้น แม้อาหารที่บ้านจะไม่หลากหลายเหมือนข้างนอก แต่ตรงนี้มันหาที่ไหนไม่ได้ เพราะคนที่เรารักที่สุดในโลกอยู่ในบ้าน อยู่ที่โต๊ะอาหารตรงนี้ คุยกันได้ทุกเรื่อง คุยไปกินไป ได้ความรู้จากผู้เป็นพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ เป็นจุดเชื่อมความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ทำให้รักพี่รักน้อง ก็เพราะว่าเหตุมาจากการนั่งกินข้าวด้วยกัน มันเหมือนประเพณีหนึ่งของไทยที่แต่ละบ้านควรรักษาไว้” 

นายบุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์ สถาปนิกหนุ่ม ตัวแทนครอบครัวรุ่นใหม่ที่มีลูกเล็ก กล่าวว่า “เวลาที่ทานอาหารร่วมกันเป็นเวลาที่มีค่ามาก เราจะรู้นิสัยใจคอลูกเรา เขารู้จักแบ่งปันไหม อย่างเราไปทานข้าวที่บ้านคุณย่า ทุกคนตักข้าวได้เองหมด แต่การตักให้กันมันเป็นการแสดงความรักผ่านการให้ และเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่เขาได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างจากเรา เช่น เราทานผัก ลูกก็ทานผัก เราไม่ทานน้ำแข็ง เขาก็ไม่ทาน เรามีวิธีการสอนลูกโดยใช้อาหาร และคิดว่าการนั่งกินข้าวร่วมกันเป็นจุดเชื่อมต่อให้ลูกๆ ได้รู้จักชีวิตจริงในสังคมอย่างแนบเนียนและสนุก

ดินเนอร์สามัคคีช่วยแก้พฤติกรรมบริโภค

      ในขณะเดียวกันยังมีงานวิจัยจากต่างประเทศระบุด้วยว่า วัยรุ่นที่นั่งทานอาหารพร้อมหน้ากับครอบครัว แทนการนั่งทานอาหารไปดูทีวีไป มีความเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมการกินผิดปกติที่น้อยกว่า
บาร์บารา ฟีส นักวิจัย กล่าวว่า "คนปกติมักเชื่อว่าวัยรุ่นไม่ชอบใช้เวลากับพ่อแม่และผู้ปกครอง หรือไม่ก็ไม่มีเวลาสำหรับการรับประทานอาหารกับครอบครัว"
เธอชี้ว่า แม้ครอบครัวจะไม่สามารถทานอาหารพร้อมหน้ากันได้ทุกวัน แต่อย่างน้อยหากพ่อแม่สามารถจัดตารางให้มีการทานอาหารพร้อมกันอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็จะช่วยรับประกันสุขภาพที่ดีของลูกในวัยรุ่นได้ดีระดับหนึ่ง

      ฟีสกล่าวว่า จากผลวิจัย 17 ชิ้นที่ทำการศึกษาเรื่องพฤติกรรมการกินและโภชนาการ ซึ่งทำการศึกษาเด็กและวัยรุ่นทั้งหมด 200,000 คน เธอพบว่าวัยรุ่นที่กินข้าวพร้อมครอบครัวอย่างน้อย 5 มื้อต่อสัปดาห์ จะมีความเสี่ยงต่อพฤติกรรมการกินผิดปกติน้อยลง 35%
พฤติกรรมการกินผิดปกติในที่นี้หมายถึง การอ้วกหลังทานอาหารของผู้ที่ชอบเป็นโรคบูลีเมีย และคนที่พยายามลดน้ำหนักด้วยการใช้ยา อดอาหาร หรือทานน้อยลง รวมถึงผู้ที่พึ่งพาบุหรี่เพื่อลดน้ำหนัก
อย่างน้อยการทานอาหารพร้อมครอบครัวสัปดาห์ละ 3 มื้อ ช่วยให้วัยรุ่นมีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วนน้อยลง 12% เมื่อเทียบกับวัยรุ่นที่กินข้าวกับครอบครัวน้อยกว่า อีกทั้งยังช่วยให้วัยรุ่นได้รับสารอาหารที่เหมาะสม และมีพฤติกรรมการกินที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าคนที่กินข้าวนอกบ้าน 24%
ฟีสซึ่งเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ กล่าวว่า การทานข้าวพร้อมหน้ากันยังช่วยให้ครอบครัวอบอุ่นมากขึ้น รวมทั้งยังทำให้การพูดจาหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินราบรื่นมากขึ้น

      เธอชี้ว่า วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ที่มีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ จะถูกสังเกตได้เร็วขึ้นหากรับประทานอาหารกับครอบครัว ซึ่งช่วยให้ป้องกันได้รวดเร็วขึ้น และยับยั้งไม่ให้กลายเป็นพฤติกรรมการกินผิดปกติสมบูรณ์แบบ นอกจากนี้วัยรุ่นยังสามารถอาศัยช่วงเวลาดังกล่าวในการปรับความเข้าใจกับครอบครัวได้เช่นกัน
ฟีสกล่าวว่า การรับประทานพร้อมหน้ากัน จะเป็นหนทางหนึ่งที่วัยรุ่นสามารถใช้ปรับตัวเข้าหาพ่อแม่ และแสดงความคิดเห็นได้อย่างมีอิสระ หากการรับประทานอาหารไม่ใช่การบังคับ และวัยรุ่นสามารถมีส่วนร่วมในการสื่อสารได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะหากทำให้วัยรุ่นรู้สึกว่าเป็นการใช้เวลาที่คุ้มค่า พวกเขาจะยินดีร่วมรับประทานอาหารเสมอ

      งานวิจัยในสหรัฐก่อนหน้านี้ระบุว่า เด็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารกับครอบครัว จะมีปัญหาในการใช้ชีวิตในโรงเรียน และในที่สุดอาจดื่มเหล้าหรือเสพยาเสพติด
หากผู้ปกครองคนใดที่ไม่ทราบว่าจะคุยเรื่องอะไรกับบุตรหลานของตน ศาสตราจารย์ฟีสแนะนำว่า ไม่ควรที่จะซักไซ้เรื่องที่โรงเรียน แต่ควรเป็นเรื่องชวนคุยอื่นๆ เช่น "หากมีเงินสิบล้านบาท จะใช้ทำอะไร?".

อ้างอิงบทความ :
เรื่องดีๆ ของการกินอาหารพร้อมกันในครอบครัว
กินข้าวพร้อมหน้าลดปัญหาครอบครัวได้ (สมาคมสถาปนิกสยาม)

2555-10-18

โรฮิงยา..บนเส้นทางสุดขอบโลก


วัน : 27 มีนาคม - 1 เมษายน 2555
สถานที่ : โถงชั้น 1
ผู้จัด : มูลนิธิทรัพยากรเอเชีย ร่วมกับ กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า


มูลนิธิทรัพยากรเอเชีย ร่วมกับ กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า ขอนำเสนอ นิทรรศการภาพถ่าย “โรฮิงยา...บนเส้นทางสุดขอบโลก” โดยสุเทพ กฤษณาวารินทร์ ช่างภาพสารคดีชั้นนำของโลก ผู้ได้รับรางวัลรางวัล Days Japan International Photojournalism Award และ National Press Photographers Association (NPPA) ของอเมริกา ประจำปี 2008 ซึ่งใช้เวลาในการลงพื้นที่เก็บภาพชุดนี้ถึง 3 ปีเต็ม

“โรฮิงยา...บนเส้นทางสุดขอบโลก” สะท้อนเรื่องราวของชาวโรฮิงยา ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า หรือรู้จักในนาม “ประชากรที่ไม่เป็นที่ต้องการ” ไม่ว่าจะเป็นที่ใดในโลก เรื่องราวของชีวิตที่ต้องอยู่อย่างผู้อาศัยในบ้านเกิดเมืองนอนของตน ต้องรอนแรมหลบหนีจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง...หวังว่าจะพบที่ที่พวกเขาได้รับการยิมรับ แต่ ยิ่งหนี พวกเขาก็ยิ่งพบว่าชีวิตมีแต่การหนี และ หนี อย่างไม่มีที่สิ้นสุด หรืออาจต้องหนีไปจนสุดขอบโลก....

เชิญร่วมกันหาความหมายของการเดินทางของโรฮิงยา ค้นหาคำตอบว่าโรฮิงยาคือใคร เหตุใดคนกลุ่มนี้จึงดั้นด้นล่องเรือเสี่ยงภัยออกจากประเทศบ้านเกิด เหตุใดพวกเขาจึงไม่เป็นที่ต้องการ ที่ไหนที่พวกเขาจะได้รับการยอมรับในฐานะมนุษย์ และในฐานะเพื่อนมนุษย์ เราควรตอบสนองต่อปัญหาโรฮิงยาอย่างไร...



             นิทรรศการ : Stateless Rohingya…Running on Empty



2leep.com