2555-12-25

ผู้ผลิตซ้ำยังไม่ตาย ยิงซ้ำอีกครั้ง เชื่อผม!!


หากยังจำเหตุการณ์เมื่อปลายเดือนธันวาคมปี 2553 ที่ผ่านมาได้ ห้วงเวลาก็ล่วงเลยมาเป็นเวลา 2 ปี มือปืนที่สาดกระสุนกว่า 10 นัดใส่รถน้องโตมี่ หรือ ด.ช.โภคิน ดีผิว อายุ 12 ปี จนบาดเจ็บและเสียชีวิตในเวลาต่อมาพร้อมกับคำถามว่าเหตุใดมือปืนถึงลงมือได้โหดเหี้ยมบ้าคลั่ง รวมถึงเส้นทางของพี่น้องคู่นี้ หลังจากเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นห้องพบยาเสพติดและเงินสดจำนวนมหาศาลด้วยวัยเพียง 20 ปีเศษเท่านั้น ซึ่งเหตุการณ์นั้นนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้ออกแถลงการณ์อัดตำรวจที่วิสามัญว่ากระทำเกินกว่าเหตุจากเหตุคลิปวิสามัญในยูทูป


แน่นอน สิ่งที่ตามมา..คงเป็นเสียงด่าทอและสนับสนุนจากผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในแง่มุมต่างๆ เช่น  "เป็นญาติโจร" "รอให้มันไปยิงลูกมึง..ก่อนหรือไง" คุณไม่เข้าใจอาชีพตำรวจ อยากลองให้คุณไปอยู่ตรง ณ เหตุการณ์นั้นบ้าง ฯลฯ สารพัดคำ ตามแต่ระดับอารมณ์ ยอมรับว่าผมเป็นคนหนึ่ง..ที่เฝ้ามองการเคลื่อนไหวของประเด็นนี้อย่างอย่างสงบนิ่งพอสมควร พยายามจับอารมณ์สังคม..และเก็บประเด็นที่วิวาทะ..หรือบางสถานที่ ก็ด่าใส่กัน ผ่านทางหน้าสังสือพิมพ์ สกู้ปพิเศษ และรายการเล่าข่าว และที่ขาดไม่ได้คอสื่อออนไลน์ ต่างๆเพื่อที่จะตรวจวัดอะไรบางอย่าง..ของสังคม

เกือบทั้งหมด..ของการวิวาทะหรือขนาดด่าทอกันก็คือ โจ๊ก ไผ่เขียว "สมควรตาย" หรือไม่ ตำรวจวิสามัญ "เกินกว่าเหตุ" หรือไม่ ...

ใครที่ออกมานำเสนอให้พิจารณา เรื่อง"ผิด-ถูกกฎหมาย" หรือไม่ ก็จะโดนอัดกลับด้วย ข้อหา "เข้าข้างโจร".."เป็นญาติกะโจรเหรอ" 

หลังจากเฝ้ามองเหตุการณ์ระหว่างนั้น..บอกตรงๆ ว่ารู้สึกหนักใจกับสิ่งรวมๆ ที่เรียกว่า "สังคมไทย" หรือแม้แต่ผู้อ่านเองก็เถอะ..หากนั่งใตร่ตรองดีๆ ก็จะเห็นว่า ทำไม ต้องหนักใจ..

สังเกตุดูจริต ของสังคมดูเถอะ ไม่ว่าเกิดปรากฏการณ์อะไรขึ้นในสังคม เราก็จะพากันถกเถียงกันกับภาพที่ปรากฎตรงหน้า โดยไม่ใส่ใจคิดวิเคราะห์ ถึงสาเหตุ ปัจจัย ที่นำมาสู่ปรากฎการณ์นั้น...และพอเกิดเรื่องใหม่ ก็ถกเถียงกันใหม่และ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การชี้มือไปที่ "คนอื่น" ให้เป็นผู้รับผิดชอบ..
น่าเสียดาย ที่สังคมไทยมีศาสนาพุทธ อยู่คู่มาช้านาน...แต่วิธีคิดแบบ พุทธศาสนา.. "โยนิโสมนสิการ" ..กลับไม่เคยได้หยั่งรากลงในสังคม..

คำถามที่ผมไม่ได้ยิน..เลยในวงวิวาทะ ทั้งที่ มันเป็นประเด็นสำคัญคือ
เด็กชายแห่งชุมชน ไผ่เขียว 2 คน เกิดมาเป็น "นักค้ายา" และ "คนสมควรตาย" เลยหรือไม่? ที่ผมรู้ ไม่ใช่เลย 
...เด็กทั้งสองคนนั้นมีชีวิตที่หากเปรียบได้คงคล้ายกับละครหลังข่าวก็ไม่ปาน นั่นคือมีชีวิตที่ไม่พึงประสงค์นัก ครอบครัวไม่สมบูรณ์ อาศัยอยู่ในสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่บังคับแกมกดดันให้เขาต้องเลือกเดินเส้นทางนี้ เพื่อหลบลี้หนีจากความยากจนและเพื่อชีวิตที่ดีกว่า.. เด็กทั้งสองจึงเริ่มต้นเข้าสู่วงการยาเสพติด ตั้งแต่เป็นเด็กตระเวนส่งของ  ขายยาเสพติดจนผันตัวเองมาเป็นเอเย่นต์ค้ายารายใหญ่ของภาคกลางในที่สุด

  ใช่หรือไม่ว่า? สมัยตอนเรียนมัธยมต้นเขายังเป็นเด็กธรรมดาๆ คนหนึ่ง..ถ้ากลับไปถามครูประถมของเขาว่าได้เคยถามเด็กสองคนนั้นหรือเปล่า..ว่า โตขึ้น จะเป็นอะไร..?ในบรรดาเด็กผู้ชายต่างจังหวัด เกือบทั้งหมด จะตอบว่า ...อยากเป็น "ตำรวจ" "ทหาร" และ มีอยากเป็น "ครู" บ้าง..และเขาจะบอกเหตุผลตามมา ส่วนมากก็เพราะ อยากไปปราบโจรผู้ร้าย และได้ทำความดี..และไม่มีเด็กคนไหนบอกว่า อยากเป็นตำรวจ เพื่อจะได้ "เก็บส่วย"..เด็กทุกคนบริสุทธิ์ครับ เกิดมาเป็นผ้าขาว..
คำถามต่อมาคือ งั้นและใคร หรืออะไร เป็นเหตุให้เด็กบริสุทธิ์ กลายเป็น "คนสมควรตาย" ขึ้นมาในวันนี้ ใคร อะไร "ผลิต" คน "สมควรตาย" ขึ้นมามากมายในสังคม...?

คำตอบ..ที่ไม่ต้องคิดมากมายคือ เหตุและปัจจัยดังกล่าวก็คือสิ่งที่เราเรียกรวมๆ กันว่า "สิ่งแวดล้อมทางสังคม" รอบๆ นั้นเอง ถ้าจะแยกแยะ เราก็จะเห็น ค่านิยมวัถุนิยมที่ใช้เงินเป็นใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงวิธีการที่จะให้ได้มา คนธรรมดาๆ ก็ทำผิดกฎหมาย ค้ายา ฯลฯ ตำรวจเก็บส่วย รีด ไถ ข้าราชการก็คอรัปชั่น นักการเมืองก็เช่นกัน ตัวพ่อ..โดยสิ่งที่เรียกว่า "ความเห็นแก่ตัว" คือรากเง่า..
จากเด็กธรรมดา เป็นเด็กเกเร เป็นเด็กส่งยา เป็นนักค้ารายย่อย นักค้ารายใหญ่ จนถึงฆาตกรผู้ "สมควรตาย"  ระหว่างพัฒนาการ ใครเข้าไปค้ำจุน เกี่ยวข้อง เกื้อหนุน เป็นเหตุปัจจัยให้เขาพัฒนาการ.. คำถามนี้คนที่รับประโยชน์จากเขาไม่อยากตอบคำถามหรอก..

ถึงตอนนี้ คำตอบที่เราได้ว่า สังคมแบบนี้ ใคร คนใดคนหนึ่งสร้างขึ้นมาหรือไม่...ไม่เลยครับ
ไม่มีใคร ให้เราสามารถ "ชี้นิ้ว"..ให้รับผิดชอบได้ ..หรือว่าเราทุกคน..มีหุ้นส่วนในโรงงาน นี้...
ถ้าเรา ไม่ช่วยกันปิดโรงงาน..โจ๊ก ไผ่เขียว ก็จะถูกผลิดขึ้นเรื่อยๆ จนเต็มสังคม..และ น้องโตมี่คนต่อๆไป ก็จะเกิดขึ้นให้เรา สงสารเห็นอกเห็นใจกันอีก..เพราะเราอยู่สังคมเดียวกัน ยังไง โจ๊กไผ่เขียว ก็ต้อง เจอกับ น้องโตมี่ วันยังค่ำไม่มีทางหนีพ้น...

ถึงตอนนี้ เราพอจะได้คำตอบหรือยังครับว่า "อะไร" ที่ "สมควรตาย" และ "อะไร" ที่สังคมของเราต้องช่วยกัน "วิสามัญ"..

ซึ่งในเวลาต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจวิสามัญฆาตกรรมนายชาญชัย ประสงค์ศิล หรือ โจ๊ก ไผ่เขียว(รูปซ้ายมือ) อายุ 29 ปี มือ ยิงรถครอบครัวของ ด.ช.โภคิน ดีผิว หรือ น้องโตมี่ จนเสียชีวิต โดย โจ๊ก ไผ่เขียว ได้ถูกตำรวจวิสามัญฆาตกรรม เมื่อเวลา 02.30 น. วันที่ 14 ธ.ค.2553 ที่สมายแมนชั่น ส่วนนายนพพล หรือ จิ๊บ ไผ่เขียว(รูปขวามือ) ถูกจับกุมตัวก่อนจะถูกคุมตัวไปคุมขังที่เรือนจำจ.พระนครศรีอยุธยาต่อไป..



ที่มา : เปิดปม : โจ๊ก จิ๊บ ไผ่เขียว (27 ธ.ค. 53)(1)
          เปิดปม : โจ๊ก จิ๊บ ไผ่เขียว (27 ธ.ค. 53)(2)


2555-12-16

Time in a Bottle : เวลาในขวดแก้ว


‘ถ้า’ฉันเก็บเวลาในขวดแก้วได้
สิ่งแรกที่ฉันจะทำ…
คือสะสมคืนวัน
ที่ล่วงเลยมานิรันดร์
เพียงเพื่อมอบมันแก่เธอ

‘ถ้า’ฉันสามารถ
ทำให้คืนวันเป็นอมตะ
หรือเพียงแต่คำพูด…
จะทำให้ความหวังเป็นจริงขึ้นมาได้
ฉันจะเก็บทุกโมงยาม
ราวสมบัติอันล้ำค่า เพื่อมอบแก่เธอ

แต่ดูราวกับจะไม่มีเวลาเพียงพอ
ที่จะทำในสิ่งที่ฉันต้องการ
หรือแม้แต่จะหาสิ่งนั้นให้พบ
ฉันวิงวอนเพียงเพื่อจะรู้ว่า
เธอเท่านั้น…
ที่ฉันต้องการก้าวผ่านกาลเวลาด้วย

ถ้าฉันมีกล่องสักใบ
สำหรับใส่ความหวังและความฝัน
ที่ไม่เคยเป็นจริง…
กล่องนั้นคงจะว่างเปล่า
หากเปี่ยมด้วยความทรงจำ
ที่เธอได้ตอบสนองฉัน


หนังสือเรื่อง เวลาในขวดแก้ว โดย ประภัสสร เสวิกุล


2555-11-08

รัก(ษ์)น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา : ประโยคที่นับวันยิ่งแสนเลือนลาง




     แม้ว่าจะต้องเผชิญหน้ากับภัยจากธรรมชาติครั้งใหญ่ ทั้งภัยน้ำท่วม ภัยแล้ง ทว่ามนุษย์ก็พร้อมที่จะปรับตัวเองในรูปแบบต่างๆ มุ่งหวังที่จะสร้างความสุขครั้งใหม่ให้เกิดขึ้นและอยากที่จะเห็นวิถีชีวิตริมน้ำหวนก­ลับมาอีกครั้ง บางทีการมีชีวิตอย่างพอเพียง อาจเป็นคำตอบของเรื่องราวในชีวิตที่เกิดขึ้นทั้งหมดของมนุษย์ก็ได้ สายน้ำนี้ยังคงทำหน้าที่อยู่เช่นในอดีต คือเป็นแม่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตบนแผ่นดินนี้ ไม่ว่าความเจริญจะเดินหน้าไปไกลขนาดไหนก็ตาม..
     

"คนต้นน้ำ สู่ คนปลายน้ำ"


แม่น้ำบางปะกง


   
     แม่น้ำบางปะกง เป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งที่ไหลลงสู่อ่าวไทย ทางด้านจังหวัดฉะเชิงเทรา มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำนครนายกและแม่น้ำปราจีนบุรี ไหลมาบรรจบกันบริเวณ ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี มีความยาวตลอดลำแม่น้ำ 122 กิโลเมตร และปริมาณการไหลของแม่น้ำบางประกงในแต่ละปี โดยเฉลี่ยแล้ว หลังเดือนเมษายน คือเมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน ปริมาณน้ำในแม่น้ำบางปะกงจะเพิ่มขึ้นสูงตามลำดับ จนถึงประมาณเดือนสิงหาคม หลังจากนั้นปริมาณการไหลของน้ำจะค่อยๆลดลงหลังจากหมดฤดูฝน ซึ่งปริมาณน้ำจะน้อยที่สุดในเดือนธันวาคม เมื่อเริ่มเข้าเดือนเมษายนในปีถัดไปปริมาณการไหลของน้ำจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น วัฏจักร ลุ่มน้ำบางปะกง มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 7,978 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดชลบุรี มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปี 3,712 ล้าน ลบ.ม. สามารถแบ่งออกเป็น 4 ลุ่มน้ำย่อย ได้แก่ แม่น้ำนครนายก คลองท่าลาด คลองหลวง และแม่น้ำบางปะกงสายหลัก


 ปัจจุบันมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่ในพื้นที่ ลุ่มน้ำจำนวน 16 โครงการ มีความสามารถในการเก็บกักน้ำรวม 62 ล้าน ลบ.ม. สำหรับพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 1,180,160 ไร่ มีการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ปีละประมาณ 1 ล้าน ลบ.ม. ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรประมาณปีละ 430 ล้าน ลบ.ม. จึงได้มีการเสนอแผนการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง เพิ่มเติมในแผนระยะสั้น และระยะยาวในทุกลุ่มน้ำย่อยรวม 7 โครงการ มีโครงการหลักที่สำคัญอยู่ในแผนระยะสั้นได้แก่ โครงการอ่างเก็บน้ำคลองสียัด โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง และโครงการเขื่อนทดน้ำ




วิถีวัฒนธรรม ลุ่มน้ำแม่กลอง ตอน: คนรักแม่กลอง






     แม่น้ำแม่กลอง เป็นแม่น้ำสำคัญสายหนึ่งในภาคตะวันตก เกิดจากแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อย ไหลมาบรรจบกันที่ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ไหลผ่านจังหวัดราชบุรี สมุทรสงคราม และไหลลงสู่ปากอ่าวไทยที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม มีความยาวประมาณ 132 กิโลเมตร พื้นที่รับน้ำที่ปากแม่น้ำแม่กลอง 30,106 ตารางกิโลเมตร

     มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 30,837 ตร.กม. หรือ 19.45 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม บางส่วนของจ.สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร อุทัยธานี และ ตาก ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย 7,973 ล้าน ลบ.ม.

     ลุ่มน้ำแม่กลองแบ่งออก เป็นลุ่มน้ำย่อย 14 ลุ่มน้ำย่อย ได้แก่ แม่น้ำแควใหญ่ (1,445 ตร.กม.) ห้วยแม่ละมุง (910 ตร.กม.) ห้วยแม่จัน (862 ตร.กม.) แม่น้ำแควใหญ่ตอนกลาง (3,380 ตร.กม.) แม่น้ำแควใหญ่ตอนล่าง (4,094 ตร.กม.) ห้วยขาแข้ง (2,320 ตร.กม.) ห้วยตะเพียน (2,627 ตร.กม.) แม่น้ำแควน้อยตอนบน (3,947 ตร.กม.) ห้วยเขย็ง (1,015 ตร.กม.) ห้วยแม่น้ำน้อย (947 ตร.กม.) ห้วยบ้องตี้ (477 ตร.กม.) แม่น้ำแควน้อยตอนกลาง (2,042 ตร.กม.) ลำภาชี (2,453 ตร.กม.) ทุ่งราบแม่น้ำแม่กลอง (4,318 ตร.กม.)



แม่น้ำวัง


     แม่น้ำวัง เป็นแม่น้ำอยู่ในภาคเหนือของไทย เกิดในเทือกเขาผีปันน้ำในเขตจังหวัดเชียงราย มีความยาว 382 กิโลเมตร ไหลไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ก่อนจะไหลไปที่แม่น้ำเจ้าพระยา..



อ้างอิง : แม่น้ำวัง 
             ลุ่มแม่น้ำวัง : ข้อมูลจำเพาะ | ลุ่มน้ำภาคเหนือ

นักพัฒนาต้นน้ำน่าน





ความสุขของคนต้นน้ำน่าน



บ้านยอด อ.สองแคว จ.น่าน ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำน่าน มีปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดาที่เรียกกันว่า “น้ำมุด” คือลำน้ำที่ไหลมาสู่หมู่บ้านนั้นมุดหายไป แต่กลับมาโผล่ที่ท้ายหมู่บ้าน ทำให้น้ำในหมู่บ้านไม่พอทำไร่ทำนา เมื่อชาวบ้านทำฝายเพื่อกักเก็บน้ำจากลำน้ำยอดที่เป็นลำน้ำสำคัญ ฝายที่ทำก็ไม่แข็งแรง ยามเมื่อน้ำหลากฝายก็พังแทบทุกครั้ง กักเก็บน้ำไม่ได้ จนคนบ้านยอดส่วนหนึ่งเลิกทำไร่ทำนา เดินทางมาทำงานที่กรุงเทพ ฯ 

เมื่อโครงการปิดทองหลังพระ ฯ เดินทางมาที่บ้านยอด จึงช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำที่ไม่สมดุลย์ของหมู่บ้านก่อนอื่นใด นั่นคือให้ความรู้ในการสร้างฝายที่แข็งแรง การใช้กล่องกาเบียรมาช่วยรับแรงกระแทกของน้ำ และทำบ่อพวงเพื่อกักเก็บน้ำยามฤดูแล้ง ซึ่งทั้งหมดนี้โครงการปิดทองหลังพระ ฯ สนับสนุนวัสดุ-อุปกรณ์ โดยให้ชาวบ้านเป็นผู้ลงแรงทำเอง นอกจากนี้ โครงการปิดทองหลังพระ ฯ ยังส่งเสริมให้มีกองทุนเมล็ดพันธ์ กองทุนหมู และกองทุนต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ชาวบ้านพึ่งตนเองได้ โดยไม่ถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง

ความสุขของคนบ้านยอด ทำให้คนบ้านสะเกิน ที่อยู่ในตำบลเดียวกันอยากจะทำตามบ้าง คนบ้านยอดจึงไปช่วยถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ให้ ซึ่งนี่เองคือความมุ่งมั่นของโครงการปิดทองหลังพระ ฯ ที่อยากให้คนต้นน้ำนั้นพึ่งตนเองได้ และเป็นผู้พิทักษ์ป่าต้นน้ำสืบไป ด้วยเพราะน้ำน่านนั้นไหลรินสู่เจ้าพระยา หล่อเลี้ยงคนหลายล้านคนในประเทศไทย 



บ้านน้ำป้าก อ.ท่าวังผา จ.น่าน ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย และได้เกิดอุทกภัยร้ายแรงในปี 2551 เกิดน้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม มีคนเสียชีวิตมากมาย แม้จะมี ฝายอยู่ 20 กว่าตัว แต่ก็ไม่สามารถต้านกำลังน้ำได้ แต่พอถึงหน้าแล้ง คนในหมู่บ้านก็มีน้ำไม่พอใช้ในการทำการเกษตร คนกลุ่มเล็ก ๆ ในหมู่บ้านจึงคิดหาวิธีแก้ปัญหาอย่างจริงจังและเดินทางมาขอความช่วยเหลือโครงการปิดทองหลังพระ ฯ

โครงการปิดทองหลังพระ ฯ จึงสนับสนุนการสร้างฝายที่แข็งแรงและให้ความรู้ในการสร้าง ซ่อมแซม และดูแลฝาย และส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกองทุนเมล็ดพันธุ์ กองทุนหมู และกองทุน ต่าง ๆ ด้วยมุ่งหมายให้คนน้ำป้ากพึ่งตัวเองได้

นับจากการเข้ามาของโครงการปิดทองหลังพระ คนบ้านน้ำป้ากจึงร่วมมือกับคนบ้านห้วยธนู บ้านห้วยม่วง ซึ่งอยู่ในตำบลเดียวกันและประสบปัญหาเรื่องน้ำที่ไม่สมดุลย์เหมือนกัน ร่วมกันสร้างฝายทั้งฝายหินก่อ ฝายอนุรักษ์รวมแล้วกว่า 500 ฝาย และในปีต่อมาก็ร่วมมือกันสร้างอีก 200 กว่าฝาย

วันนี้คนบ้านน้ำป้าก จึงเป็นหมู่บ้านต้นแบบที่แสดงถึงพลังของคนในชุมชนที่ยืนหยัดสู้ทุกปัญหา แม้ว่าโลกจะร้อน หรือน้ำจะแล้งก็ตามที




ไม่มีปิง วัง ยม น่าน ไม่มีสายธารเจ้าพระยา



     แม่น้ำยม เป็นแม่น้ำที่มีต้นกำเนิดอยู่ในป่าดงดิบสูงชันสลับซับซ้อนบนเทือกเขาผีปันน้ำและเทือกเขาแดนลาว ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย พะเยาและแพร่ มีความยาวประมาณ 700 กิโลเมตร กระแสน้ำไหลผ่านที่ราบสูงของจังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร ไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแม่น้ำน่านจะไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เกิดเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำสายสำคัญของพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย

     สภาพโครงสร้างทางน้ำของแม่น้ำยมมีลักษณะแบบกิ่งไม้ ประกอบด้วยลำน้ำสาขา 77 สาย ระดับน้ำสูงสุดในฤดูฝน ลดลงเมื่อถึงฤดูหนาว และต่ำสุดในฤดูร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

     ชนิดและปริมาณพันธุ์ไม้ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยมเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล คือ มีมากในฤดูหนาวและฤดูร้อน ลดลงในฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงที่ระดับน้ำสูงและกระแสน้ำไหลแรงจนทำให้พืชใต้น้ำและบนผิวน้ำถูกพัดพากระจัดกระจายไป พืชใต้น้ำมีเพียงชนิดเดียวคือสาหร่ายหางกระรอกซึ่งเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในฤดูร้อน เนื่องจากระดับน้ำไม่สูงมาก แสงแดดสามารถส่องถึงได้ นอกจากนี้ยังพบต้นกก พืชที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม โผล่พ้นน้ำกระจายอยู่ทั่วไป แม่น้ำยมมีพืชชายน้ำหลายชนิด เช่น หญ้าคา หญ้าแพรก พง และอ้อ

     ในแม่น้ำยมมีปลาน้ำจืด 38 ชนิด ปริมาณปลามีมากที่สุดในช่วงฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว ปลาที่พบมาก ได้แก่ ปลาตะเพียน ปลาสร้อย ปลาซิว และปลารากกล้วย




อ้างอิง : แม่น้ำยม
              แม่น้ำยม สายธาราแห่งชีวิต
              แม่น้ำยม โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
              ปลาแม่น้ำแห่งแม่น้ำยม ตอนที่ 1
              ปลาแม่น้ำแห่งแม่น้ำยม ตอนที่ 2
              ปลาแม่น้ำแห่งแม่น้ำยม ตอนที่ 3
              ปลาแม่น้ำแห่งแม่น้ำยม ตอนที่ 4
              ผลการศึกษาโครงการลุ่มน้ำยม
              กรมชลประทาน

2555-11-06

การเดินทางของสายน้ำ (2)

      


     ที่ใดที่หนึ่งอันแสนห่างไกล น้ำหยดเล็ก ๆ หยดหนึ่งซึมผ่านจากใต้ผืนดินค่อย ๆ รินไหลเข้าร่วมกับหยดอื่น ๆ เดินทางไปสู่มหาสมุทรหยดน้ำเล็ก ๆ หยดนี้เดินทางผ่านแนวรอยดิน ผ่านก้อนกรวดกระฉอกกระเซ็นเมื่อผ่านก้อนหิน บางครั้งปะทะร่องหินไหลเชี่ยวเป็นแก่ง บางคราวได้สบายอยู่ในหนองน้ำนิ่ง ลงอ่าวสงบ โยนคลื่นปั่นป่วนในทะเลก่อนเข้าสู่อ้อมกอดมหาสมุทร
     ชีวิตก็เป็นไปเฉกเช่นเดียวกับหยดน้ำหนึ่งนั้นเวลาเราอยู่ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น มันเป็นเวลาผ่านท่ามกลางการรับรู้ การคิด การตัดสินใจ ยังไม่รู้ถูกผิด ยังไม่รู้ผลกระทบเราได้แต่ทำไปอย่างดีที่สุดสำหรับเวลานั้น
      ต่อเมื่อเวลาผ่านไปเนิ่นนาน เมื่อมองย้อนกลับไปจึงจะสรุปรวมภาพต่าง ๆ และผลที่แท้จริงของมันได้ ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ ผิดหรือถูก ล้วนแล้แต่จบไปแล้วทั้งสิ้น กลายเป็นบาดแผล กลายเป็นแผลเป็น กลายเป็นตำนาน กลายเป็นเรื่องเล่ายามค่ำคืนในฤดูหนาวใต้แสงดาวของคราวคำนึง เรื่องของคนคนหนึ่งอาจมีประโยชน์สำหรับใครบางคน อาจไร้สาระสำหรับใครอีกบางคน ถ้ามันไร้สาระโปรดทิ้งมันไปเฉย ๆ อย่างง่าย ๆ หากมันมีประโยชน์ฉันก็ดีใจ ฉันหวังเพียงว่าฉันอาจสร้างความเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ บางอย่างจากชีวิตของฉัน ชีวิตเล็ก ๆบางอย่างจากชีวิตของฉัน ชีวิตเล็ก ๆ ชีวิตหนึ่งที่เป็นเพียงดั่งสายน้ำไหล..

ผู้แต่ง : ขวัญ เพียงหทัย
หนังสือ : ดั่งสายน้ำไหล


ดั่งสายน้ำไหล (1)



เดินลัดเลาะแนวป่าหาต้นน้ำ
ไหลเย็นฉ่ำต้นน้ำอยู่ที่ไหน 
เดินฝ่าดงพงป่าพนาไพร 
มีต้นไม้น้อยใหญ่ใกล้ลำธาร

มองสายน้ำใสเย็นเห็นฝูงปลา
แหวกว่ายมาทวนน้ำหาอาหาร
ให้ฉ่ำชื่นเดินไปเลาะสายธาร
เสียงประสานธารน้ำไหลไอฉ่ำเย็น

เดินลัดเลาะทางชันดั้นด้นไป
ผ่านหินก้อนน้อยใหญ่ไม่เคยเห็น
ม่านน้ำตกไหลมาสาดกระเซ็น
ให้ฉ่ำเย็นเปียกปอนแรมรอนไป

ความชุ่มชื้นของต้นไม้กลั่นไอน้ำ
เย็นฉ่ำตาน้ำผุดขึ้นสายธารไหล
ปกคลุมสายธารด้วยต้นไม้ใหญ่
หล่อเลี้ยงพงไพรให้ฉ่ำเย็น


ร้อยเรียงบทกวี by ป๋อง สหายปุถุชน


กรุงเทพฯ เมืองแห่ง..(อะไรสักอย่าง?)


     เราต่างมักจะได้ยินกันอยู่เสมอว่าทางภาครัฐต่างปั้นโครงการเมกะโปรเจคอลังการงานสร้างต่างๆให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจ สังคม กิจกรรมต่างๆโดยใช้งบประมาณอย่างมหาศาลอย่างโครงการแรกๆเท่าที่เอ่ยขึ้นเมื่อไม่นานมานี้คือ "กรุงเทพฯเมืองแฟชั่น" (Bangkok International Fashion Week) "กรุงเทพฯเมืองสร้างสรรค์" (Creative City: Bangkok’s Creative Potentials) สู่ความเป็น “เมืองสร้างสรรค์” (Creative City) ตามมาด้วย "กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก" (Bangkok designated World Book Capital 2013) และล่าสุดกับ "กรุงเทพฯเมืองจักรยาน" (ฺBangkok City Bike) หากยังไม่รวมสร้างมิติใหม่ให้ "กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งภาพยนตร์" และโครงการอื่นๆ ต่อมิอะไรอีกมากมายที่จะตามมาอีก..

    แต่ทุกโครงการที่มีขึ้นมาก็ล้วนแต่ขาดการสานต่อ ทำให้โครงการที่เคยทำไปนั้นเหมือนกับตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ โดยสิ่งหนึ่งที่ภาครัฐลืมคิดเกี่ยวกับการประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายในการตั้งกรุงเทพฯให้เป็นศูนย์กลางของเมืองต่างๆที่ว่ามานี้ก็คือมันต้องใช้เวลาและใส่ใจกับโครงการนี้อย่างจริงจัง บางโครงการไม่เป็นมรรคผลเพราะขาดการสานต่อ ทำให้ไม่เกิดผลตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ตั้งแต่แรก


     โครงการนี้ก็คือ การทำให้คนกรุงเทพฯอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นประมาณ ๑๐-๒๐ เล่มต่อปี ภายในปี ๒๕๕๖ จากเดิม ปัจจุบันเฉลี่ยอ่านหนังสือเพียง ๕ เล่มต่อปีเท่านั้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายสำคัญคือ เด็กและเยาวชนแต่TVCที่ได้ปล่อยออกไปก็ได้เป็นประเด็นร้อนในสังคมออนไลน์ ด้วยเหตุผลที่ว่า "การดูดี หรือ ความฉลาด ไม่ใช่แค่ การหยิบมาอ่าน แต่ขึ้นกับว่า อ่านอะไร แต่ในขณะเดียวกัน การอ่าน ก็ไม่ได้ใช้เพื่อสรุปแทน ความดูดี หรือ ความเป็นคนฉลาด แต่ การอ่านเป็นการเปิดโลกทัศน์เราให้กว้าง ให้ลึก ฝึกให้คิด ฝึกให้เข้าใจ ซึ่งนั่นเป็นการพัฒนา ทรัพยากรพื้นฐานในสังคมอันได้แก่ มนุษย์ ซึ่งหากพัฒนามากขึ้น ก็จะยิ่งช่วยพัฒนาสังคมให้รุดหน้ามากขึ้น การกระตุ้นให้บ้านเราเป็น เมืองหนังสือโลก จึงไม่น่าจะใช่ จำนวน แต่คือเนื้อหาว่า คนส่วนใหญ่อ่านอะไร และ รัฐเข้าใจวัตถุประสงค์หรือส่งเสริมให้คนอ่านอย่างไร"

     นอกจากนี้ ยังมี เสียงวิจารณ์จาก ปราบดา หยุ่น นักเขียนรางวัลซีไรท์ชื่อดัง ที่ออกมาแสดงมุมมองของตน ต่อโฆษณากรุงเทพเมืองหนังสือ ด้วยว่าโฆษณาดังกล่าวเป็นการหลอกลวงผู้รับสาร ดังนี้..
โฆษณาชิ้นนี้ไม่ได้สื่อว่าการอ่านหนังสือทำให้คนฉลาด แต่บอกว่าแค่ถือหนังสือทำท่าว่าอ่านคนอื่นก็จะคิดว่าคุณเป็นคนน่าเคารพแล้ว พูดอีกอย่างคือจงสร้างภาพด้วยการอ่านหนังสือ เหมาะมากกับ “เมืองตอแหลโลก”

    ทั้งหมดเหล่านี้คงจะเป็นเพียงอภิมหาโครงการสร้างฝันให้กรุงเทพฯเป็นเมืองแห่ง..(อะไรสักอย่าง?)ขึ้นมาของทางภาครัฐเองเท่านั้น หากปราศจากการเสริมช่วยของเอกชนทุกภาคส่วนและแรงผลักดันจากประชาชน โครงการเหล่านั้นก็จะเหมือนกับทุกโครงการที่แล้วมาประกาศแล้วจบ จุดพลุครั้งเดียวกลายเป็นตำนานฝันสลายไม่ประสบผลสำเร็จ อ่อนเปลี้ยเพลียแรงล้มหายตายจากไปตามกาลเวลา ซึ่งหากไม่มีรัฐบาลคอยช่วยเรื่องความต่อเนื่องในการส่งเสริมสนับสนุนด้วยแล้วคงยากแก่การบรรลุผลหรือประสบความสำเร็จได้ แต่ในระหว่างที่รอแผนโครงการประชาสัมพันธ์ฺกรุงเทพฯฉบับใหม่จากภาครัฐอยู่ก็ท่องจำคำขวัญกรุงเทพฯที่ตั้งขึ้นใหม่ในปี 2555 นี้ไปก่อน..

"กรุง​เทพฯ ดุจ​เทพสร้าง ​
เมืองศูนย์กลาง​การปกครอง 
วัด วัง งาม​เรืองรอง ​
              ถึงเวลาหรือยังที่โสเภณีจะเป็นอาชีพถูกกฎหมาย
              เรียกร้องกรุงเทพเมืองแฟชั่นให้กลับมาอีกครั้ง


2555-11-05

คนที่ถูกลืมในสังคม


   •ปัญหาเด็กเร่ร่อน• เป็นปัญหาที่มีมานาน และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ เป็นปัญหาสังคมที่เชื่อมโยงกับปัญหาอื่น ๆ การศึกษาวิถีชีวิตของเด็กเร่ร่อน ทุกแง่มุมจะทำให้รัฐและสังคมตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและหันมาสนใจแก้ปัญหาอย่างรีบด่วนและจริงจังมากกว่าเดิม ปัญหาเด็กเร่ร่อนเป็นปัญหาที่พบได้ในเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก โดยแต่ละประเทศต่างก็พยายามแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งมาตรการในการแก้ปัญหาเด็กเร่ร่อนที่ได้ผลในประเทศต่าง ๆ สามารถนำมาปรับใช้ได้กับประเทศไทย เราจึงได้นำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาเด็กเร่ร่อน เช่น การให้การศึกษา , การให้งานทำ, การให้ความช่วยเหลือบนท้องถนน เด็กเร่ร่อนขอทาน การใช้แรงงานในเด็ก เป็นต้น
   อย่างไรก็ตามมีทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ทำงานด้านเด็กเร่ร่อนโดยตรง อาทิ UNICEF Thailand  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  ศูนย์พิทักษ์และคุ้มครองเด็ก  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เป็นต้น ยังไม่รวมมูลนิธิฯและบ้านอื่นๆอีกมากมาย แต่กลับเห็นว่าปัญหาเด็กเร่ร่อนก็ไม่ลดลง ปัจจัยหนึ่งคงเป็นเพราะผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อปัญหาสถาบันครอบครัวในปัจจุบัน ทำให้เด็กเหล่านี้ต้องออกจากบ้านมาเร่ร่อนและตกระกำลำบากในเมืองใหญ่ ซึ่งมีให้เห็นจนชาชินเหมือนเป็นเรื่องปกติธรรมดากันไปแ้ล้ว หากจะหวังให้ภาครัฐหรือหน่วยงานที่มีอยู่(ซึ่งทำงานอย่างเต็มที่แล้ว)แก้ไขโดยลำพัง โดยไม่มีนโยบายประกาศเรื่องปัญหาเด็กเร่ร่อนเป็นวาระแห่งชาติก็คงจะขับเคลื่อนได้ไม่มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพในประเทศเอง ทำให้ไม่มีหัวเรือใหญ่ที่มุ่งมั่นแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ปัญหาจึงถูกซุกไว้เพื่อรอการแก้ไขต่อไป..ข้อสังเกตคือไม่มีพรรคการเมืองไหนเลยที่ประกาศจะแก้ปัญหานี้ รับอาสาจะสะสางปัญหาเรื่องนี้ภายในกี่ปี?ส่วนใหญ่เป็นนโยบายขายฝัน วันนี้พรุ่งนี้ ขายผ้าเอาหน้ารอดเสียมากกว่า!!
    หวังว่าเสียงเล็กๆเสียงหนึ่งแม้ว่าจะไม่เสียงดังไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างน้อยก็คงจะเป็นแสงสลัวอันสดใสที่ปลายอุโมงค์? ส่องสว่างให้เด็กเร่ร่อนรอวันให้เด็กเหล่านี้กลับคืนสู่อ้อมอกของครอบครัวอันอบอุ่นและเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของอนาคตต่อไป..
 

อ้างอิง : เปิดโลกเด็กเร่ร่อนในสังคมไทย ความจริงที่มิอาจปฏิเสธได้
              ปัญหาครอบครัวกับเด็กเร่ร่อน



ฟื้นฟู "คลองแสนแสบ" สายน้ำแห่งชีวิตคนกรุงเทพฯ



9 ตุลาคม 2546

สยามรัฐ : ชีวิตกว่า 166 ปี ที่คลองแสนแสบเป็นสายน้ำเส้นโลหิต ที่ไหลเคียงคู่กับคนในกรุงเทพมหานครจวบจนปัจจุบัน แต่ภาพที่ฉาย ให้มีเหลือไว้เพียงแค่เส้นทางการคมนาคมสัญจรของคนเมืองกรุง เพื่อความสะดวกสบายกับถังขยะใบโตเพียงแค่นั้นหรือ“ในอดีตนั้นน้ำในคลองแสนแสบตลอดสาย จะใสสะอาด ประชาชนใช้น้ำในคลองในการอุปโภคบริโภค ทำการเกษตร เป็นเส้นทางคมนาคม และยังมีสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในคลองเป็นจำนวนมาก” 

คลองแสนแสบถือว่าเป็นคลอง ที่มีความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์ ทั้งในด้านการรบ การขนส่ง และการเสด็จประพาสของพระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์

รอยคราบที่เปรอะเปื้อนจากพัฒนาการทางสังคมเมือง ได้นำปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองแสนแสบได้สะสมทวีคูณเลื่อยมา จนเป็นปัญหาสังคมตามมา ความจำเป็นประโยชน์จากน้ำในการใช้สอยค่าในครอบครัวและชุมชนได้เปลี่ยนไปเป็นการได้รับประโยชน์จากการคมนาคมแทนโดยสิ้นเชิง

ปัจจุบันเมืองกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางของผู้คนที่หลั่งไหลเข้ามาอยู่อาศัยไม่ต่ำกว่า 15 ล้านคน และมีประชากรอีกหลายล้านคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเป็นผู้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์คลองแสนแสบโดยรู้เท่าไม่ถึงการ หรือความประสงค์จงใจ อันได้แก่ การปล่อยน้ำเสียจากครัวเรือน อาคารสำนักงาน โรงงาน โรงพยาบาล โรงแรม ซึ่งส่วนใหญ่จะทิ้งน้ำผ่านบ่อพักแล้วไหลลง

จะเห็นได้ว่าปมเหตุของน้ำเสียส่วนใหญ่ มาจากฝีมือมนุษย์ย่ำยีอันเป็นผลพ่วงมาจากการพัฒนาเติบโตรวดเร็วของเมืองและชนบท ซึ่งได้ทำลายวงจรชีวิตของสิ่งที่มีคุณค่า อันเป็นบ่อเกิดแห่งปัญหาสังคมที่ได้สะท้อนกับมาสู่สุขภาพของหมู่มวลมนุษย์ ที่อยู่ภายในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดได้ทำลายความสดใสของธรรมชาติของคลองน้ำ หนองบึง

ถึงแม้รัฐบาลชุดนี้จะประกาศให้วันที่ 20 กันยายน จะเป็นวันและอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อม แม่น้ำ คู คลองแห่งชาติแล้วก็ตาม แต่ปัญหาน้ำเสียในคลองแสนแสบ เป็นการสูญเสียวงจรห่วงโซ่ธรรมชาติ การแก้ปัญหาน้ำเสียในคลองแสนแสบควรอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างข่ายใยชีวิตขึ้นมาใหม่ สิ่งแรกที่ต้องลงมือปฏิบัติ คือ จะต้องไม่ทิ้งหรือใช้สารพิษที่ทำลายชีวิตต่างๆ

“สาเหตุส่วนใหญ่คือ ผู้ที่อยู่อาศัยริมคลองได้ทิ้งขยะลงคลอง มีการระบายน้ำเสียจากท่อระบายน้ำบนถนนลงคลอง ปัญหาน้ำเสียจากบ้านริมคลอง น้ำมันจากเรือโดยสารปล่อยลงคลอง” 

ผศ.ดร.แต่งอ่อน ตนมั่นใจ อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคม สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) กล่าวว่า โครงการเริ่มตั้งแต่ช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้เคยนำน้ำสกัดชีวภาพ และเม็ดสกัดชีวภาพใส่ในคลองพังพวง พบว่าน้ำที่ส่งกลิ่นเหม็นกลับไม่มีกลิ่น ขณะเดียวกันสีของน้ำก็ใสสะอาดขึ้น

นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ในครัวเรือนได้โดยนำน้ำสกัดชีวิภาพผสมน้ำ 1 ต่อ 50 เท่า เทลงในบ่อพักน้ำเสียหรือท่อระบายน้ำทิ้ง จะช่วยย่อยสลายไขมัน ท่อไม่อุดตัน ทำให้สภาพน้ำดีขึ้น แม้จะไม่ใสเลยดีทีเดียว ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้น้ำสกัดชีวภาพประมาณ 50,000 ลิตรและเม็ดสกัดชีวภาพไม่ต่ำกว่า 10 ตัน

ทั้งนี้ คนทุกคนสามารถร่วมคืนความสดใสให้คลองแสนแสบในในรูปแบบต่างๆ ได้ โดยการร่วมเรียนรู้ และปฏิบัติเป็นตัวอย่างในการอนุรักษ์น้ำรวมทั้งการสร้างวัฒนธรรมในการอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อม ให้เกิดขึ้นในบ้าน ในองค์กร และชุมชนต่างๆ ร่วมฟื้นฟูและอนุรักษ์น้ำในคลองโดยใช้น้ำสกัดชีวภาพเทจากที่ล้างจาน หรือห้องน้ำ ท่อระบายน้ำ หรือในคลอง

สำหรับการแก้ปัญหาน้ำเสียในคลองแสนแสบจะมีอยู่ 2 ภาค คือ ในภาคชนบทตั้งแต่จังหวัดฉะเชิงเทราถึงหนองจอก มีนบุรี และภาคในเมืองจากวัดศรีบุญเรืองจนถึงประตูน้ำ โดยมีคูคลองเล็กใหญ่ไหลผ่านเขตบางกะปิ เขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว และเขตวังทองหลาง

นายเทวา วงษ์สถิตย์ ชมรมรักษ์คลองพังพวย เป็นผู้หนึ่งที่เคยได้ร่วมรณรงค์เทน้ำมักชีวภาพกล่าวว่า ที่ผ่านมาเราเทน้ำชีวภาพไปแล้ว รู้สึกว่าน้ำในคลองดีขึ้นจึงเริ่มมีกำลังใจทำงานต่อไป พอผ่านไปไม่กี่ชั่วโมงน้ำก็เริ่มกลับมาเป็นเหมือนเดิม ซึ่งก็ทำให้เคยเกิดความท้อแท้ ในการที่จะทำน้ำในคลองลำพังพวยที่เชื่อมต่อกับคลองแสนแสบให้ใสสะอาด

“พวกเราภายในชุมชนแฟลตคลอจั่น 30 ก็พยายามสู้ทำน้ำสกัดชีวภาพมาเทลงคลองและรณรงค์ให้คนในชุมชนเทน้ำสกัดลงภายในท่อน้ำทิ้งของแต่ละครัวเรือนอีกครั้งและอีกต่อไปจนกว่าน้ำในคลองสดใสดีขึ้น” 

นางปรีดา คงแป้น เลขามูลนิธิชุมชนไท กล่าวว่า ถ้าการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียคลองแสนแสบ ยังไม่ได้เข้าบรรจุวาระแห่งชาติเหมือนกับการแก้ปัญหายาเสพติดก็คงจะเป็นเรื่องยากที่จะแก้ปัญหาได้จริงจังเพราะต้องระดมความร่วมมือในระดับชาติถึงจะมีแรงขับเคลื่อนในดีและรวดเร็ว

จากรายงานของทางกทม. ปรากฏว่าผู้ที่มีส่วนร่วมในการกระทำน้ำเสียเกิดจากการปล่อยประละเลยของผู้ประกอบการได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลจากบ้านเรือนและสถานประกอบการมีถึง 70% ของประชากรที่อยู่ริมสองฝั่งคลองแสนแสบ

ขณะเดียวกันปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองแสนแสบ ได้มีหน่วยงานต่างๆ ที่ขันอาสาเข้ามาร่วมโครงการทำคลองแสนแสบให้ฟื้นคืนชีพกลับมาใสสะอาดอีกครั้ง

“ที่ผ่านมากรุงเทพฯ ทำได้แค่ปล่อยน้ำดีมาไล่น้ำเสีย เพื่อน้ำดูสะอาดขึ้น แต่ตะกอนที่อยู่ใต้คลองที่อยู่ไม่ได้ถูกไล่ไปกันสายน้ำ อีกทั้งทุกวันนี้เรือด่วนก็ยังแล่นสวนไปมากันควักไคว่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำไม่เว้นแม้วันหยุดราชการ จึงทำให้ไปกวนตะกอนที่อยู่ใต้พื้นน้ำ จนเป็นสีขุ่นหมอง” นางณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานครกล่าว

หน่วยงานกรุงเทพมหานครก็เป็นอีกตัวจักรหนึ่งที่เข้ามามีส่วนร่วมรณรงค์สร้างความสดใสให้คลองแสนแสบสะอาด แต่ยังมีหน่วยงานหลายแห่งที่ได้เข้ามาร่วมโครงการ “ประชารวมใจ คืนความสดใสให้คลองแสนแสบ” โดยที่มีคณะพัฒนาสังคม สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) เป็นแม่งานที่อยากจะเห็นความสดใสเกิดขึ้นกับคลองแสนแสบ

ดังนั้น การฟื้นฟูและอนุรักษ์คลองแสนแสบจึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับคนไทยและ การสร้างคุณภาพชีวิตของคนกับคลอง ได้พึ่งพาอาศัยกันเปรียบเป็นสายน้ำแห่งชีวิตที่มีคุณค่าแห่งนี้

ณ เวลานี้ชีพจรและหัวใจของคลองแสนแสบกำลังเต้นอ่อนล้าลงอย่างช้า โดยได้พลังกายพลังใจจากหน่วยงานที่แข็งขันและชุมชนริมคลองบางกลุ่มที่ให้อากาศพยุงชีวิตได้หายใจคล่องขึ้น โดยยากที่จะมีหมอใหญ่เข้ามาดูแลและเยี่ยวยา

“สำหรับยาดีที่จะรักษาปัญหาน้ำเสียคลองแสนแสบ ก็น่าจะบรรจุเข้าปัญหาเป็นวาระแห่งชาติที่คนไทยทุกคนที่มีส่วนร่วมใช้สอยผลประโยชน์จากสายน้ำทั้งทางตรงและทางอ้อม” 

ชะตากรรมน้ำเสียคลองแสนแสบในวันนี้บ่งบอกถึงอาการโคม่าแบบตายทั้งเป็น แล้วจะใครมียาวิเศษที่จะมาเยี่ยวยาและรักษาให้คลองแสนแสบกลับฟื้นคืนชีพอีกครั้ง !!



(คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)


อ้างอิง : ประวัติคลองแสนแสบ 1/2
              พินิจนคร ตอน ชุมชนคลองแสนแสบ
              สารพัดปัญหาคลองแสนแสบ
              5 แนวทางฟื้นคลองแสนแสบใน 10 ปี
              แสนแสบเน่า เรื่องคุ้นเคยคนกรุง
              ฟื้นระบบคลอง กทม.คืนเสน่ห์เวนิสตะวันออก
              175 ปีคลองแสนแสบ กับปัญหาน้ำเน่า



2555-11-04

รายการเป็นอยู่คือ : ประภากร วทานยกุล





Quotes of the Day : "การพูดเรื่องพื้นที่สีเขียวกับคุณภาพอากาศในเมืองใหญ่มีมาอย่างต่อเนื่อง..แต่ผลที่ออกมาดูจะเป็นคนละเรื่องกัน หรือบางทีการพูดเรื่องสองเรื่องนี้อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นก็ได้ ถ้าเกิดว่าเราได้มีโอกาสไปยืนอยู่ใกล้ๆต้นไม้สักต้นและก็สูดหายใจลึกๆเราก็คงจะเข้าใจมันไ้ด้" ญารินดา บุนนาค : รายการเป็นอยู่คือ



Cheonggyecheon : คลองสายนี้หัวใจไม่ลืม

       
     คลองชอง เก ชอน ซึ่งเป็นคลองสายประวัติศาสตร์ของประเทศเกาหลีก็ว่าได้ นั่นเพราะคลองแห่งนี้ได้ไหลผ่านย่านใจกลางกรุงโซล ซึ่งถือเป็นคลองที่มีความสำคัญไม่แพ้แม่น้ำฮัน แม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคนประเทศนี้ ซึ่งในอดีตทุกชีวิตที่อยู่ริมสองฝั่งคลองได้ใช้ ชอง เก ชอน มาเนิ่นนาน ไม่ว่าจะเป็นทั้งอุปโภคบริโภค แต่หลังจากที่เกาหลีได้ผ่านยุคสงครามภายในประเทศ และรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น เกาหลีใต้ได้เร่งพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนมองข้ามในเรื่องสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมือง ชั่วระยะเวลาเพียง 50 ปีเท่านั้นเกาหลีใต้ ได้ฟื้นตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็วหลังจากบอบช้ำจากสงครามภายใน ประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายถูกขุดขึ้นมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็ก จนทำให้เกาหลีใต้สามารถผลิตรถยนต์ส่งออกได้เป็นอันดับ 5 ของโลก รวมถึงสินค้าไอทีและเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่าประเทศอื่นในภูมิภาค ด้วยเหตุนี้เองทำให้รัฐบาลเกาหลีต้องก่อสร้างถนน ทางยกระดับ รวมถึงทางด่วนหลายสาย เพื่อรองรับการพัฒนา การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ และชุมชนเมืองในกรุงโซล โดยไม่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม จนเป็นต้นเหตุให้มีการก่อสร้างทางด่วน ทับคลองชอง เก ชอน ในปี 1957-1977 จนทำให้คลองสายนี้เริ่มตายไปจากชุมชนสองฝั่งคลองย่านใจกลางกรุงโซล และเมื่อทางด่วนผุดขึ้นกลางคลองการไหลของน้ำไม่สะดวก เกิดการตื่นเขิน ที่สำคัญเมื่อการเดินทางสะดวกมากขึ้นทำให้เกิดการขยายตัวของชุมชน มีร้านค้าขายของมากมายบริเวณใต้ทางด่วน จนทำให้น้ำในคลอง ชอง เก ชอน เน่าเหม็นและตายไปในที่สุด จนทำให้คลองสายนี้ไม่ต่างไปจากคลองแสนแสบบ้านเรา กลายเป็นที่ระบายสิ่งปฏิกูลและถังขยะขนาดใหญ่ ใจกลางเมืองร่วม 25 ปีเศษที่กรุงโซลละเลยเรื่องคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมือง จนกระทั่งเกิดมลพิษ น้ำเน่าเสีย เกิดชุมชนแออัดตามใต้ทางด่วน และก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมา จนทำให้ประชาชนบางส่วนที่สนใจเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวให้มีการคืนชีวิตให้กับคลองชอง เก ชอน อีกครั้งกระทั่งปี 2003 ในช่วงที่ ลี เมียง บัก เป็นผู้ว่าการกรุงโซล ได้มีแนวคิดคืนคลองให้กับชุมชนเมือง จึงได้ตัดใจเสนอนโยบายทุบทางด่วนทิ้ง พร้อมกับ โครงการกู้ชีวิตคลอง ชอง เก ชอน ให้กับคนในกรุงโซล

     แต่โครงการนี้ใช่ว่าจะสำเร็จง่ายๆ เพราะช่วงแรกได้รับการต่อต้านจากบรรดาพ่อค้าแม่ขายจากย่านใต้ทางด่วนริมคลอง จนเกิดแรงประทะกับหลายต่อหลายครั้งจากฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็ผ่านไปได้ด้วยดีโดยเริ่มลงมือทุบทางด่วนในปี 2003 และคืนคลองชอง เก ชอน ได้สำเร็จในปี 2005โดยใช้งบประมาณในการทุบทางด่วนรวมถึงการสร้างคลอง ชอง เก ชอน ให้ฟื้นกลับมามีชีวิตอีกครั้งกว่า 3.8 แสนล้านวอน หรือ ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท พร้อมทั้งมีการฟื้นฟูธรรมชาติริมสองฝั่งคลองด้วย ตลอดความยาวกว่า 5.84 กิโลเมตร ที่ไหลผ่านใจกลางเมืองตลอดแนวมีการสร้างน้ำพุเป็นระยะๆ รวมถึงมีการสร้างนำตกเพื่อเป็นแนวกันน้ำและชะลอน้ำหน้าฝน มีการสร้างสะพานกว่า 22 แห่งเพื่อเป็นจุดชมวิวริมสองฝั่งคลอง มีการก่อสร้างทางเดิน เรียบคลอง พร้อมทั้งจุดพักผ่อนด้วย ปัจจุบันคลองชอง เก ชอน ได้กลับฟื้นขึ้นมาได้กว่า 2 ปีแล้ว ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในกรุงโซล เริ่มกลับคืนมาใหม่อีกครั้ง ด้วยการสูบน้ำมาจากแม่มาจากแม่น้ำฮัน เพื่อหล่อเลี้ยงคลองแห่งนี้ จากน้ำดำส่งกลิ่นเหม็น กลายเป็นสายน้ำใสไหลเย็น มีปลานานาชนิดแหวกว่าย และแทบไม่น่าเชื่อว่าคลองในใจกลางเมืองขนาดนี้จะมีฝูงนกเป็ดน้ำบินมาหาอาหาร ว่ายน้ำเล่นให้คนชมจนเพลินตา
   
     วันนี้ ชอง เก ชอน กลายเป็นสวนสาธารณะแห่งใหญ่ที่สุดของคนในกรุงโซล พอตกเย็นจะมีประชาชนจำนวนมากมาวิ่งออกกำลัง เดินเล่น จูงลูกหลานมาพักผ่อนหย่อนใจ หรือเป็นจุดนัดพบ และจะมีประชาชนเป็นจำนวนมากมาเดินเล่นตามริมคลองในช่วงเทศกาลสำคัญๆ จนทำให้หลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย เดินทางมาศึกษาดูงานการจัดระบบสิ่งแวดล้อมในชุมชนของกรุงโซล ซึ่งถือว่าประสบผลสำเร็จอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เกาหลีใต้ ตั้งเป้าจะพัฒนาเมืองหลวงให้กลายเป็นมหานครที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกเมืองน่าอยู่ให้ได้ เพราะปัจจุบันกรุงโซลมีประชาชนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากกว่า 10 ล้านคน แต่มีพื้นที่เพียง 605 ตารางกิโลเมตรเท่านั้นซึ่งสภาพทั่วไปเป็นเกาะและภูเขา นับว่ามีพื้นที่เล็กกว่ากรุงเทพฯเป็นอย่างมาก ในขณะที่ประชากรอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ด้วยการเจริญเติบโตของชุมชนเมือง กรุงโซลมีแนวคิดที่จะขายเมืองออกไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำฮัน ที่อยู่ระหว่างกรุงโซล กับเกาะยองจอง โดยเป็นพื้นที่ทะเลโคลน ติดกับทะเลเหลืองของคาบสมุทรเกาหลี อยู่ในระหว่างการถมทะเลโคลน เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย สถานศึกษา และ สวนสาธารณะขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงความสุขของประชาชนเป็นหลัก จึงทำให้หันมาขบคิดและตั้งคำถามว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้(ประเทศไทย) มีเรื่องเหล่านี้อยู่ในหัวสมองบ้างหรือไม่? ในด้านที่จะดำเนินการให้มีพื้นที่ของเมืองสีเขียวทั้งในกรุงเทพฯเองและต่างจังหวัด ไปพร้อมกับการพัฒนาของชุมชนเมืองที่นับวันจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่หันมามองเรื่องของสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชน



"เมื่อคิดเองไม่ได้..ก็จงเป็นนักลอกเลียนแบบที่ดี"

Cheonggyecheon: คลองสายนี้หัวใจไม่ลืม --- เมื่อเกาหลีทุบทางด่วนทิ้ง คืนคลองสวยและธรรมชาติสู่เมืองใหญ่

Read More
: http://www.portfolios.net/profiles/blogs/cheonggyecheon#ixzz2H0vtpxE5

2555-10-25

Where Children Sleep : James Mollison


11-year-old Joey, who killed his first deer when he was seven, lives in Kentucky 
with his family.



4-year-old Romanian boy who shares a mattress with his family in the outskirts of 
Rome.



12-year-old Lamine sleeps in a room shared with several other boys in the Koranic 
school in their Senegalese village.



14-year-old Irkena is a member of the semi-nomadic Rendille tribe in Kenya and 
lives with his mother in a temporary homestead in the Kaisut Desert.



14-year-old Prena is a domestic worker in Nepal and lives in a cell-like room in the 
attic of the house where she works in Katmandu.



14-year-old Erien slept on the floor of her favela abode in Rio de Janeiro until the 
late stages of her pregnancy.



15-year-old Risa is training to be a geisha and shares a teahouse with 13 women
in Kyoto, Japan.



10-year-old Ryuta is a champion sumo-wrestler living in Tokyo with his family.



4-year-old Jasmine has participated in over 100 child beauty pageants and lives in 
a large house in the Kentucky countryside.



7-year-old Indira works at a granite quarry and lives in a one-room house near
 Katmandu, Nepal, with her parents, brother and sister.



8-year-old Justin plays football, basketball and baseball. He lives in a four-
bedroom house in New Jersey.



Alyssa lives in a small wooden house with her family in Appalachia.



8-year-old Ahkohxet belongs to the Kraho tribe and lives in Brazil's Amazon 
basin.




9-year-old Dong shares a room with his parents, sister and grandfather, growing 
rice and sugar cane in China's Yunnan Province.


9-year-old Delanie aspires to be a fashion designer and lives with her parents and 
younger siblings in a large house in New Jersey.



9-year-old Jamie shares a top-floor apartment on New York's Fifth Avenue with 
his parents and three siblings. The family's two other homes are in Spain and the 
Hamptons.



9-year-old Tsvika and his siblings share a bedroom in an apartment in the West 
Bank, in a gated Orthodox Jewish community known as Beitar Illit.



2leep.com