2555-11-06

กรุงเทพฯ เมืองแห่ง..(อะไรสักอย่าง?)


     เราต่างมักจะได้ยินกันอยู่เสมอว่าทางภาครัฐต่างปั้นโครงการเมกะโปรเจคอลังการงานสร้างต่างๆให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจ สังคม กิจกรรมต่างๆโดยใช้งบประมาณอย่างมหาศาลอย่างโครงการแรกๆเท่าที่เอ่ยขึ้นเมื่อไม่นานมานี้คือ "กรุงเทพฯเมืองแฟชั่น" (Bangkok International Fashion Week) "กรุงเทพฯเมืองสร้างสรรค์" (Creative City: Bangkok’s Creative Potentials) สู่ความเป็น “เมืองสร้างสรรค์” (Creative City) ตามมาด้วย "กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก" (Bangkok designated World Book Capital 2013) และล่าสุดกับ "กรุงเทพฯเมืองจักรยาน" (ฺBangkok City Bike) หากยังไม่รวมสร้างมิติใหม่ให้ "กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งภาพยนตร์" และโครงการอื่นๆ ต่อมิอะไรอีกมากมายที่จะตามมาอีก..

    แต่ทุกโครงการที่มีขึ้นมาก็ล้วนแต่ขาดการสานต่อ ทำให้โครงการที่เคยทำไปนั้นเหมือนกับตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ โดยสิ่งหนึ่งที่ภาครัฐลืมคิดเกี่ยวกับการประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายในการตั้งกรุงเทพฯให้เป็นศูนย์กลางของเมืองต่างๆที่ว่ามานี้ก็คือมันต้องใช้เวลาและใส่ใจกับโครงการนี้อย่างจริงจัง บางโครงการไม่เป็นมรรคผลเพราะขาดการสานต่อ ทำให้ไม่เกิดผลตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ตั้งแต่แรก


     โครงการนี้ก็คือ การทำให้คนกรุงเทพฯอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นประมาณ ๑๐-๒๐ เล่มต่อปี ภายในปี ๒๕๕๖ จากเดิม ปัจจุบันเฉลี่ยอ่านหนังสือเพียง ๕ เล่มต่อปีเท่านั้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายสำคัญคือ เด็กและเยาวชนแต่TVCที่ได้ปล่อยออกไปก็ได้เป็นประเด็นร้อนในสังคมออนไลน์ ด้วยเหตุผลที่ว่า "การดูดี หรือ ความฉลาด ไม่ใช่แค่ การหยิบมาอ่าน แต่ขึ้นกับว่า อ่านอะไร แต่ในขณะเดียวกัน การอ่าน ก็ไม่ได้ใช้เพื่อสรุปแทน ความดูดี หรือ ความเป็นคนฉลาด แต่ การอ่านเป็นการเปิดโลกทัศน์เราให้กว้าง ให้ลึก ฝึกให้คิด ฝึกให้เข้าใจ ซึ่งนั่นเป็นการพัฒนา ทรัพยากรพื้นฐานในสังคมอันได้แก่ มนุษย์ ซึ่งหากพัฒนามากขึ้น ก็จะยิ่งช่วยพัฒนาสังคมให้รุดหน้ามากขึ้น การกระตุ้นให้บ้านเราเป็น เมืองหนังสือโลก จึงไม่น่าจะใช่ จำนวน แต่คือเนื้อหาว่า คนส่วนใหญ่อ่านอะไร และ รัฐเข้าใจวัตถุประสงค์หรือส่งเสริมให้คนอ่านอย่างไร"

     นอกจากนี้ ยังมี เสียงวิจารณ์จาก ปราบดา หยุ่น นักเขียนรางวัลซีไรท์ชื่อดัง ที่ออกมาแสดงมุมมองของตน ต่อโฆษณากรุงเทพเมืองหนังสือ ด้วยว่าโฆษณาดังกล่าวเป็นการหลอกลวงผู้รับสาร ดังนี้..
โฆษณาชิ้นนี้ไม่ได้สื่อว่าการอ่านหนังสือทำให้คนฉลาด แต่บอกว่าแค่ถือหนังสือทำท่าว่าอ่านคนอื่นก็จะคิดว่าคุณเป็นคนน่าเคารพแล้ว พูดอีกอย่างคือจงสร้างภาพด้วยการอ่านหนังสือ เหมาะมากกับ “เมืองตอแหลโลก”

    ทั้งหมดเหล่านี้คงจะเป็นเพียงอภิมหาโครงการสร้างฝันให้กรุงเทพฯเป็นเมืองแห่ง..(อะไรสักอย่าง?)ขึ้นมาของทางภาครัฐเองเท่านั้น หากปราศจากการเสริมช่วยของเอกชนทุกภาคส่วนและแรงผลักดันจากประชาชน โครงการเหล่านั้นก็จะเหมือนกับทุกโครงการที่แล้วมาประกาศแล้วจบ จุดพลุครั้งเดียวกลายเป็นตำนานฝันสลายไม่ประสบผลสำเร็จ อ่อนเปลี้ยเพลียแรงล้มหายตายจากไปตามกาลเวลา ซึ่งหากไม่มีรัฐบาลคอยช่วยเรื่องความต่อเนื่องในการส่งเสริมสนับสนุนด้วยแล้วคงยากแก่การบรรลุผลหรือประสบความสำเร็จได้ แต่ในระหว่างที่รอแผนโครงการประชาสัมพันธ์ฺกรุงเทพฯฉบับใหม่จากภาครัฐอยู่ก็ท่องจำคำขวัญกรุงเทพฯที่ตั้งขึ้นใหม่ในปี 2555 นี้ไปก่อน..

"กรุง​เทพฯ ดุจ​เทพสร้าง ​
เมืองศูนย์กลาง​การปกครอง 
วัด วัง งาม​เรืองรอง ​
              ถึงเวลาหรือยังที่โสเภณีจะเป็นอาชีพถูกกฎหมาย
              เรียกร้องกรุงเทพเมืองแฟชั่นให้กลับมาอีกครั้ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

2leep.com