‘ธรรมดาเราดูแต่คนอื่น 90% ดูตัวเองแค่10%’
คือคอยดูแต่ความผิดของคนอื่น เพ่งโทษคนอื่น คิดแต่จะแก้ไขคนอื่น
กลับเสียใหม่นะ
ดูคนอื่นเหลือไว้ 10%
ดูเพื่อศึกษาว่า เมื่อเขาทำอย่างนั้น คนอื่นจะรู้สึกอย่างไร
เพื่อเอามาสอนตัวเองนั่นแหละ
ดูเพื่อศึกษาว่า เมื่อเขาทำอย่างนั้น คนอื่นจะรู้สึกอย่างไร
เพื่อเอามาสอนตัวเองนั่นแหละ
ดูตัวเอง พิจารณาตัวเอง 90% จึงเรียกว่า ปฏิบัติธรรมอยู่
ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้างตัวเอง
โบราณพูดว่า เรามักจะเห็น….
ความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดของตนเองเท่ารูเข็ม
โบราณพูดว่า เรามักจะเห็น….
ความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดของตนเองเท่ารูเข็ม
มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย
เราจึงต้องระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มาก ๆ
เราจึงต้องระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มาก ๆ
เห็นความผิดของคนอื่น ให้หารด้วย 10
เห็นความผิดตัวเอง ให้คูณด้วย 10
เห็นความผิดตัวเอง ให้คูณด้วย 10
จึงจะใกล้เคียงกับความจริงและยุติธรรม
เพราะเหตุนี้เราจะต้องพยายามมองแง่ดีของคนอื่นมาก ๆ
และตำหนิติเตียนตัวเองมาก ๆ
แต่ถึงอย่างไร ๆ เราก็ยังเข้าข้างตัวเองนั่นแหละ
และตำหนิติเตียนตัวเองมาก ๆ
แต่ถึงอย่างไร ๆ เราก็ยังเข้าข้างตัวเองนั่นแหละ
พยายามอย่าสนใจการกระทำ การปฏิบัติของคนอื่น
ดูตัวเอง สนใจแก้ไขตัวเองนั่นแหละมาก ๆ
เช่น เข้าครัวเห็นเด็กทำอะไรไม่ถูกใจ แล้วก็เกิดอารมณ์ร้อนใจ
ยังไม่ต้องบอกให้เขาแก้ไขอะไรหรอก
รีบแก้ไข ระงับอารมณ์ร้อนใจของตัวเองเสียก่อน
ดูตัวเอง สนใจแก้ไขตัวเองนั่นแหละมาก ๆ
เช่น เข้าครัวเห็นเด็กทำอะไรไม่ถูกใจ แล้วก็เกิดอารมณ์ร้อนใจ
ยังไม่ต้องบอกให้เขาแก้ไขอะไรหรอก
รีบแก้ไข ระงับอารมณ์ร้อนใจของตัวเองเสียก่อน
เห็นอะไร คิดอะไร รู้สึกอย่างไร ก็สักแต่ว่า ใจเย็น ๆ ไว้ก่อน
ความเห็น ความคิด ความรู้สึกก็ไม่แน่ …..
ไม่แน่ว่า อาจจะถูกก็ได้ อาจจะผิดก็ได้
เราอาจจะเปลี่ยนความเห็นก็ได้
สักแต่ว่า…..สักแต่ว่า…..ใจเย็น ๆ ไว้ก่อน ยังไม่ต้องพูด
ความเห็น ความคิด ความรู้สึกก็ไม่แน่ …..
ไม่แน่ว่า อาจจะถูกก็ได้ อาจจะผิดก็ได้
เราอาจจะเปลี่ยนความเห็นก็ได้
สักแต่ว่า…..สักแต่ว่า…..ใจเย็น ๆ ไว้ก่อน ยังไม่ต้องพูด
ดูใจเราก่อน สอนใจเราก่อน หัดปล่อยวางก่อน
เมื่อจิตสงบแล้ว เมื่อจิตปกติแล้ว จึงค่อยพูด จึงค่อยออกความเห็น
พูดด้วยเหตุ ด้วยผล ประกอบด้วยจิตเมตตากรุณา
ขณะมีอารมณ์อย่าเพิ่งพูด
ทำให้เสียความรู้สึกของผู้อื่น ทำให้เสียความรู้สึกของตัวเอง
ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร มักจะเสียประโยชน์ซ้ำไป
เมื่อจิตสงบแล้ว เมื่อจิตปกติแล้ว จึงค่อยพูด จึงค่อยออกความเห็น
พูดด้วยเหตุ ด้วยผล ประกอบด้วยจิตเมตตากรุณา
ขณะมีอารมณ์อย่าเพิ่งพูด
ทำให้เสียความรู้สึกของผู้อื่น ทำให้เสียความรู้สึกของตัวเอง
ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร มักจะเสียประโยชน์ซ้ำไป
เพราะฉะนั้น อยู่ที่ไหน อยู่ที่วัด อยู่ที่บ้าน ก็สงบ ๆ ๆ
ไม่ต้องดูคนอื่นว่าเขาทำผิด ๆ ๆ
ดูแต่ตัวเรา ระวังความรู้สึก ระวังอารมณ์ของเราเองให้มาก ๆ
พยายามแก้ไข พัฒนาตัวเรา ….. นั่นแหละ
ไม่ต้องดูคนอื่นว่าเขาทำผิด ๆ ๆ
ดูแต่ตัวเรา ระวังความรู้สึก ระวังอารมณ์ของเราเองให้มาก ๆ
พยายามแก้ไข พัฒนาตัวเรา ….. นั่นแหละ
เห็นอะไรชอบ ไม่ชอบ ปล่อยไว้ก่อน
เรื่องของคนอื่น พยายามอย่าให้เข้ามาที่จิตใจเรา
ถ้าไม่ระวัง ก็จะยุ่งกับเรื่องของคนอื่นไปเรื่อย ๆ
หาเรื่องอยู่อย่างนั้น เอาเรื่องโน้นเรื่องนี้มาเป็นเรื่องของเราหมด
มีแต่ยินดี ยินร้าย พอใจ ไม่พอใจ ทั้งวัน
อารมณ์มาก จิตไม่ปกติ ไม่สบาย ทั้งวัน ๆ ก็หมดแรง
เรื่องของคนอื่น พยายามอย่าให้เข้ามาที่จิตใจเรา
ถ้าไม่ระวัง ก็จะยุ่งกับเรื่องของคนอื่นไปเรื่อย ๆ
หาเรื่องอยู่อย่างนั้น เอาเรื่องโน้นเรื่องนี้มาเป็นเรื่องของเราหมด
มีแต่ยินดี ยินร้าย พอใจ ไม่พอใจ ทั้งวัน
อารมณ์มาก จิตไม่ปกติ ไม่สบาย ทั้งวัน ๆ ก็หมดแรง
ระวังนะ
พยายามตามดูจิตของเรา รักษาจิตของเราให้เป็นปกติให้มาก
ใครจะเป็นอะไร ใครจะทำอะไร ดีหรือไม่ดี เรื่องของเขา
แม้เขาจะทำกับเรา ว่าเรา….. ก็เรื่องของเขา
อย่าเอามาเป็นอารมณ์ อย่าเอามาเป็นเรื่องของเรา
พยายามตามดูจิตของเรา รักษาจิตของเราให้เป็นปกติให้มาก
ใครจะเป็นอะไร ใครจะทำอะไร ดีหรือไม่ดี เรื่องของเขา
แม้เขาจะทำกับเรา ว่าเรา….. ก็เรื่องของเขา
อย่าเอามาเป็นอารมณ์ อย่าเอามาเป็นเรื่องของเรา
ดูใจเรานั่นแหละ พัฒนาตัวเองนั่นแหละ
ทำใจเราให้ปกติ สบาย ๆ มาก ๆ
หัด – ฝึก ปล่อยวาง นั่นเอง
ไม่มีอะไรหรอก
ไม่มีอะไรสำคัญกว่าการตามรักษาจิตของเรา
คิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข
ทำใจเราให้ปกติ สบาย ๆ มาก ๆ
หัด – ฝึก ปล่อยวาง นั่นเอง
ไม่มีอะไรหรอก
ไม่มีอะไรสำคัญกว่าการตามรักษาจิตของเรา
คิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น