2554-07-30

ประมวลศัพท์ปรัชญาที่ต้องรู้

อังกฤษ – ไทย
A - Z
 .    

  Ab-ArA



Absolutism (แอ็บ-โซ-ลุ-ทิสซึ่ม)   

มีความหมาย

                            (1) (ทางรัฐศาสตร์) การใช้อำนาจอย่างไม่มีข้อจำกัดด้วยการตรวจสอบและดุลยภาพ (check and balanc7e)

(2) (ปรัชญา) เป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับ “สัมพัทธภาพ-relativism”


Abstract  ideas  (แอ็บ-สแตร็ก-ไอ-เดีย)  
สังกัปหรือแนวคิดเชิงนามธรรม



Absurdity (แอ็บ-เสิรด-ดิ-ตี้)  
สิ่งที่มีความหมายตรงกันข้ามกับสามัญสำนึกหรือเหตุผล มีความขัดแย้งกันในตัวเอง



Academy of Athens (อะ-คา-เค-มี-อ็อฟ-เอเธนส์) 
สถาบันที่ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของชาวตะวันตก ก่อตั้งโดยเพลโตเมื่อประมาณ กคศ. 385


Aesthetics  (เอส-เธ-ติกส์)   
ปรัชญาศิลปะว่าด้วยความงาม


Agnosticism (แอ็ก-นอส-ติ-ซิสซึ่ม) 
ทฤษฎีที่โต้แย้งกันระหว่างผู้ที่ไม่ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า (atheists) กับผู้ที่เชื่อในพระผู้เป็นเจ้า (theists) ในลักษณะของความสงสัย ไม่แน่ใจในความมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า


Ahimsa  (อหิง-สา)   
มาจากคำสันสกฤตแปลว่า หลักการว่าด้วยการไม่กระทำประทุษร้ายเบียดเบียนผู้อื่น




An-Be


Analytic (แอ-นะ-ลิท-ติก) 
วิเคราะห์


Aquinas, St.thomas (อไควนัส)  
นักปรัชญาเทวศาสตร์


Aristotlelianism (อะริส-โท-เทิลเลี่ยน-นิสซึ่ม) 
หลักแนวคิดแบบอริสโตเติล


Aristotle   (อริส-โต-เติล)
นักปรัชญากรีก


Atheism (อะเธ-อิส-ซึ่ม) 
อเทววิทยา ปฏิเสธหลักศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า


Augustine of Hippo (ออกุสติน) 
นักปรัชญาศาสนา





B





Bacon, Francis (เบค่อน, ฟรานซิส)  
นักปรัชญาชาวอังกฤษผู้เสนอหลักคิดเชิงอุปนัย (Induction)


Bad faith (แบด-เฟธ) 
หลักปรัชญาอัตถิภาวนิยมของซาร์ตรที่ว่าด้วยการหลอกตนเอง (self-deception) 
 และหลอกผู้อื่น


being (บี-อิ้ง)  
การดำรงอยู่ มีอยู่ (existence)


Bentham, Jeremy (เบน-ธัมเยเรมี)  
นักปรัชญาสังคมชาวอังกฤษ เจ้าตำรับแนวคิดประโยชน์นิยมมหสุข (Utilitarianism)


Bergson, Henri (แบร์กซงอองรี)  
นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมในปีค.ศ. 1927


Berkeley, George (เบิร์ก-เล่ย์จอร์ช) 
นักปรัชญาเชื้อสายไอริช ชาวอังกฤษ





Ca-Co


C





Carnap, Rudolf  (คาร์แน็ป, รูดอล์ฟ) 
นักปรัชญาปฏิฐานนิยม ชาวเยอรมัน


Categorical  imperative (แค็ท-เท-กอ-ริ-คอล อิม-เพอ-เร-ถีฟ) 
คำที่ใช้ในหลักจริยศาสตร์ของค้านท์ที่แบ่งความแตกต่างของการชักนำพาการกระทำโดยศีลธรรมออกจากการทำตามคำสั่ง


Categories (แค็ท-เท-กอ-รี่ส) 
คำที่ใช้หมายถึงการเกิดแบ่งหมวดหมู่ตามลำดับชั้น


Cogito ergo sum (ค็อค-จิ-โต-เออร์โก-ซุม) 
มาจากคำละติน แปลว่า "ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงเป็นฉัน" (I think, therefore I am) ตามหลักปรัชญาความรู้ของเดซ์การ์ตส์ (Descartes) ระบบการโต้แย้งเชิงปรัชญาของเขาเรียกว่า “the catersian argument” (เดอะ-แค็ท-เท-เชี่ยน-อา-กิว-เม้นท์)


Common sense (คอม-ม่อน-เซนส์)  
สามัญสำนึกเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่


Comte, August (ก็งต์ออกุส) 
นักปรัชญาปฏิฐานนิยมผู้บุกเบิกแนวคิดชาวฝรั่งเศส


Concept  (คอนเส็ป)  
สังกัป หรือ แนวคิดกลุ่มความคิด


Conscience (คอน-สเชี่ยน)   
มโนธรรมสำนึกการมีสำนึกบาป-บุญ-โทษ มีคุณธรรม ศีลธรรม จรรยา



Consciousness  (คอน--เชียส-เนส) 
จิตสำนึกรู้


Cosmogony (คอส-โม-โก-นี่) 
 จักรวาลวิทยาคำอธิบายว่าด้วยกำเนิดของจักรวาล (the universe)




Di-En



D





Ding-an-sich  (ดิง-อัน-ซิก)  
ภาษาเยอรมันสำหรับศัพท์คำว่า “thing-in-itself” ตามหลักคำอธิบายของค้านท์ที่ว่า เราไม่มีวันที่จะรู้จักสิ่งต่าง ๆอย่างที่มันเป็นอยู่ในตัวเอง นอกจากดูจากอาการที่ปรากฏ (appearances) ของมัน


Dualism (ดู-อะ-ลิสซึ่ม)  
ทวินิยม แนวคิดที่อธิบายลักษณะของสารัตถะว่ามีอยู่ 2 สิ่งคู่กันไป ตรงกันข้ามกับคำว่า “monism-เอกนิยม”


Dynamic (ได-นา-มิก) 
พลวัต หมายถึง ภาวะความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา



E





eidos (ภาษากรีกอ่านว่า เอ-โอส)
ใช้กับคำอังกฤษว่า “Form = แบบ” ที่เพลโตนำมาอธิบายทฤษฎีความรู้


Einstein, Albert (อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์) (1879-1955)
นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน เจ้าตำรับทฤษฎีสัมพัทธภาพระหว่างวัตถุกับพลังงาน (Relativism)


Empiricism    (เอ็ม-พิ-ริ-ชิสซึ่ม)  
แนวปรัชญาความรู้แบบประจักษ์วิทยา ที่ว่าความรู้เกิดจากประสบการณ์


Enlightenment (เอ็น-ไลท์-เทน-เม้นต์) 
การรู้แจ้ง หรือ ยุคแห่งเหตุผลนิยม(Age of Reason) ที่ก่อตัวขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 18 ในฝรั่งเศสที่นำไปสู่การปฎิวัติความคิดทางปรัชญาและวิทยาศาสตร์สมัยใหม่



Ep-Ex



Epicureanism  (เอ-พิ-คิว-เรียน-นิสซึ่ม) 
แนวปรัชญาของเอพิคิวรัส ซึ่งนำหลักจริยธรรมแนวสุขนิยม (ethical hedonism) มาอธิบายพฤติกรรมมนุษย์


Epiphenomenalism (เอ-ปิ-ฟี-โน-มินัลลิซซึ่ม)
หลักการว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกาย ในปลายศตวรรษที่ 19 ที่อธิบายว่าจิตกับกายมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน (interaction) และอยู่อย่างคู่ขนานกันไปคือ ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ของตัว (parallelism)


Epistemology (อิ-เอะ-พิส-โม-โล-จี)
สาขาปรัชญาที่อธิบายบ่อเกิดของความรู้ในทฤษฎีความรู้ (ญาณวิทยา)


Essence (เอ็ส-เซ้นส์ ) 
สารัตถะหรือแก่นแท้ของสิ่งต่าง ๆ


Ethics (เอ็ท-ธิกส์)
จริยศาสตร์ ปรัชญาที่ศึกษาว่าด้วยมาตรการตัดสินทางจริยธรรมในพฤติกรรมของมนุษย์



 E





Euthanasia  (ยู-ธา-เน-เซีย)
ความหมายตามรูปคำแปลว่า “การตายดี-good dying”ต่อมาความหมายเชิงจริยศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์ได้นำไปสู่การตายที่หยิบอื่นให้แก่ผู้ป่วยที่สิ้นหวังตามวิธีการแห่งการฆ่าเชิงบวก หรือ การุณยฆาตซึ่งเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ว่าเป็นสิ่งถูกต้องทางจริยธรรมและถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก


existentialism (อิก-ซิส-เทน-เชียส-ลิซซึ่ม) 
หลักปรัชญาอัตถิภาวะนิยม ว่าด้วย การดำรงอยู่ (existence) ของมนุษย์ในฐานะปัจเจกบุคคล (individual) อย่างเป็นอิสระ (free) ที่มีคุณค่าและความหมายแตกต่างจากวัตถุสิ่งของ



Fo-He



F





Form (ฟอร์ม)
แบบตามทฤษฎีของเพลโต



Forms (ฟอร์มส์)  
แบบ หรือ ความคิด (Ideas)



Free will (ฟรีวิล)
เจตจำนงเสรี เป็นคำตรงข้ามกับชะตากรรมถูกกำหนด(determinism) เป็นความคิดทางปรัชญาที่โต้แย้งกันว่า มนุษย์มีเจตจำนงเสรีเป็นอิสระแก่ตัวในการกระทำหรือไม่ หรือว่าถูกกำหนดไว้แล้วโดยชะตากรรม หรือโดยพระผู้เป็นเจ้าขีดเส้นชะตากรรมไว้แล้






G



Galileo Galilei (กาลิเลโอ  กาลิเลอิ) 
(1564-1642) นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวอิตาเลียนผู้เสนอกลศาสตร์สมัยใหม่


God (ก็อด) 
พระผู้เป็นเจ้าในศาสนายูดาห์ คริสต์ อิสลาม ฮินดู-พราหมณ์



Godel, Kurt (โกเดลเคิร์ท) 
(1906-1978) นักตรรกวิทยาเชิงคณิตศาสตร์ ชาวเช็ค (Czech)



Goethe, Johann Wolfgang von (1749-1832) (เกอเตโยฮัน วูร์ฟกัง ฟอน)
กวีนักเขียนและนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน เจ้าของผลงานมหาอุปรากรเรื่อง Faust (เฟ้าส์) (1808, 1831)






H



Hedonism (เฮ็ด-โด-นิส-ซึ่ม) 
หลักการเชิงปรัชญาว่าด้วยความสุข (happiness) ในรูปแบบของความพึงพอใจ (pleasure) เป็นแรงจูงใจผลักดันพฤติกรรมของมนุษย์



Hegel, George Friedrich  (1770-1831) (เฮ-เกล-จอร์ช ไฟรดริช)  
นักปรัชญาจิตนิยม (idealist philosophy) ชาวเยอรมัน เจ้าของผลงาน“Phenomenology of Mind” (1807) เจ้าตำรับการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ด้วยวิธีวิภาษ (historic dialectics) และเจ้าของผลงาน “The Philosophy of Right”(1821)






He-Id



H



Hegelianism (เฮเกล-เลี่ยน-นิสซึ่ม) 
ทรรศนะของผู้ที่อ้างอิงปรัชญาของเฮเกล แล้วนำหลักคิดของเฮเกลมาอธิบายปรัชญาของตนเอง


Heidegger, Martin (1889-1976) (ไฮเด็กเกอร์มาร์ติน) 
นักปรัชญาชาวเยอรมันนักคิดแนวอัตถิภาวะนิยม (Existentialism)


Heliocentric (เฮลิโตเซ็นทริก) 
ทฤษฎีที่อธิบายว่า ดาวนพเคราะห์หมุนรอบดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยจักรวาล


Hermeneutics (เฮอร์-เม-นิว-ติกส์) 
ใช้ในหลักเทววิทยา (theology) ที่ตีความ (interpretation) เกี่ยวกับจิตวิญญาณแห่งความจริง (the spiritual truth)ของพระคัมภีร์ไบเบิล (The Bible)


Humanism  (ฮิว-แมน-นิส-ซึ่ม)
หลักมนุษยนิยมที่ใช้ในความหมายที่หลากหลายมาก ได้แก่

 (1) ในยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาในยุโรป หมายถึงอารยธรรมแบบฉบับคลาสสิก กรีก โรมัน) ก็เรียกว่า พวกมนุษยนิยม (the humanists) 

 (2) หลักการว่าด้วยคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่แท้


Hume, David (1711-1776)  (เดวิดฮิวม์) 
นักปรัชญา นักประวัติศาสตร์ และนักอักษรศาสตร์ เชื้อสายสก็อต


Hypothesis (ไฮ-พอ-เธ-ซีส)  
กระบวนการคิดเชิงนิรนัย (deduction) ที่นำไปสู่การอธิบายเชิงการคะเนหรือที่เรียกว่า “สมมติฐาน



I



Idealism (ไอดีลลิสซึ่ม) 
ปรัชญาจิตนิยมที่นักคิดมุ่งแสวงหาคำตอบภายใน จิตมนุษย์ (mind) มากกว่าโลกภายนอก มี 3 กลุ่ม ได้แก่

(1) จิตนิยม แนวเบิร์กเลย์ (Berkeleian idealism) ตามหลักการวิเคราะห์ของเบิร์กเลย์

(2) จิตนิยมการบรรลุเหนือพ้น (Transcendental Idealism) ของค้านท์

(3) จิตนิยม (Objective Idealism) ที่อธิบายว่าสิ่งทั้งหลายดำรงอยู่ในรูปแบบของจิตหนึ่ง (a form of one mind)





Id-Ja


Idols of the mind (ไอ-ดอลส์-ออฟ-เดอะ-มายด์) 
รูปเคารพแห่งจิต หมายถึง การทึกทักผิด ๆ (illusions) ที่ฟรังซิส เบคอน (Francis Bacon) อธิบายไว้ในหนังสือชื่อ “Novum Organum-เครื่องมือใหม่” โดยอธิบายว่า คนเรารู้จักสิ่งต่าง ๆ ผ่านจิต ในการแสวงหาความรู้ แต่ต้องระวังจิตที่มักจะมีสิ่งลวง 4ลักษณะ ได้แก่

(1) the idols of the tribe -  รูปเคารพแห่งเผ่าหมายถึง สิ่งที่มนุษย์ได้รับติดตัวมาแต่เกิดจากเผ่าพันธุ์ของตน ที่เป็นสิ่งไม่จริง แต่นำมาใช้เป็นมาตรการตัดสินความจริงเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ

(2) the idols of the den (cave)  –  รูปเคารพถ้ำ คือ โลกส่วนตัวของเจ้าของจิตนั้น ที่ยึดถือไปตามความนึกคิดของตัวเอง

(3) the idols of the market place  –  รูปเคารพแห่งตลาดที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดระหว่างมนุษย์ในสังคมได้แก่ ภาษาและคำพูด

(4) the idols of the theatre  –  รูปเคารพแห่งโรงละคร) เป็นผลมาจากการติดยึดในหลักปรัชญาต่าง ๆ ที่ผิด ๆ



Individual (อิน-ดิ-วิ-ดวล)  
แห่งปัจเจกภาพ ความเป็นบุคคล


Induction (อิน-ดั๊ก-ชั่น) 
การคิดเหตุผลแบบอุปนัย ที่สรุปหลักการทั่วไปหรือกฎทั่วไปจากข้อมูลเชิงสังเกตการณ์


Innate idea (อิน-เหนท-ไอเดีย) 

ความรู้ ความคิด ในจิตที่มีมาก่อนและไม่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ มีนักปรัชญาอย่างน้อย 3 ท่าน ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ ได้แก่ เพลโต ในทฤษฎีแบบ (Theory of Form) เดซ์การ์ตส (Descartes) ในทฤษฎีความรู้ และจอห์น ล็อค (John Lock) ที่แย้งว่าจิตมนุษย์ว่างเปล่า (tabula rasa) และมีความรู้ได้จากการอาศัยประสบการณ์ทางผัสสะ




intuition (อิน-ทิว-อิ-ชั่น)  
ญาณที่ล่วงรู้มาก่อนแล้ว ญาณสังหรณ์







J


Jain philosophy (เชน) 
ปรัชญาศาสนาเชน ของท่านมหาวีระ ศาสดาเอกของลัทธิ


James, William (1842-1910) (วิลเลียม เจมส์) 
นักปรัชญา นักจิตวิทยาชาวอเมริกันแนวปฏิบัตินิยม เจ้าของผลงาน “The Will To Belief” (1897)” “The varieties of Religious Experiences” (1902)





Ja-Li


J


Jaspers, Karl (1883-1969) (คาร์ล  จัสเปอร์ส) 
นักปรัชญา ชาวเยอรมัน และหนึ่งในผู้ก่อตั้งปรัชญาอัตถิภาวนิยม (Existentialism)



K



Kant, Immanuel (1724 – 1804) (ค้านท์, อิมมานูเอล) 
นักปรัชญาชาวเยอรมัน ผู้เสนอหลักคิดแนวจิตนิยม (idealism) ด้วยหลักการว่าด้วย “Transcendental - การบรรลุเหนือพ้น” และ Critical-เชิงวิพากษ์” และปรัชญาวิพากษ์


Kapler, Johannes (1571-1630)  (เค็ปเลอร์โจฮันน์ส) 
นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้ค้นพบหลักการโคจรของดาวนพเคราะห์ในสุริยจักรวาล ซึ่งเป็นรากฐานให้ก่อกำเนิดหลักฟิสิกส์ของนิวตัน


Kierkekaard,  Soren (1813-1855)  (กิเออการ์ด,  โซเรน) 
นักปรัชญาและศาสนาชาวเดนมาร์กและนักคิดอัตถิภาวนิยม



L



Leibniz , Gottfried William (1646-1716) (เลียบนิซ, ก็อดไฟรด์ วิลเลียม) 
นักปรัชญาชาวเยอรมัน



Libertarianism (ลิ-เบอร์-แท-เรียน-นิสซึม) 
(1) เป็นทรรศนะที่โต้แย้งกับทรรศนะ “ชะตากรรมถูกกำหนด-determinism” โดยอธิบายใหม่ว่าการกระทำของมนุษย์มิได้ถูกกำหนดด้วยกฎแห่งปฐมเหตุใด ๆ (causal laws) 








(2) เป็นหลักปรัชญาสังคมและเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (liberalism) ที่โต้แย้งกับการออกกฎหมายหรือการกระทำใดทางสังคมที่ลดทอนเสรีภาพของปัจเจกบุคคล (individual freedom)



Li-Lo


L



liberty  (ลิ-เบอร์-ตี้)
(1) เสรีภาพของเจตจำนง (the freedom of the will ) หรือเจตจำนงเสรี (freedom)




 (2) เสรีภาพทางการเมือง (political freedom) โดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก มนุษย์ผู้มีเสรีภาพคือผู้ซึ่งไม่ถูกกักขังหรือถูกคุกคาม หรือถูกกระทำใด ๆ เยี่ยงทาส เพราะความหวาดกลัวต่อการลงโทษ


line, image of the  (ไลน์อิมเมจ อ๊อฟ เดอะ) 
เป็นภาพแสดงการอธิบายของเพลโต ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ “The Republic-สาธารณรัฐ” (เล่ม IV ที่อธิบายเส้นแบ่งพรมแดนความรู้ 4 เส้นที่แบ่งแยกให้เห็นถึงความจริง (reality) แบบต่าง ๆ จนถึงการบรรลุถึงความรู้ (knowledge)



Linguistic Philosophy (ลิง-กวิส-ติก-ฟิลลอสโซฟี่) 
คือ การนำปรัชญาไปศึกษาว่าภาษาถูกนำมาใช้อย่างไร นำไปสอนอย่างไร และพัฒนาไปอย่างไรในชีวิตประจำวันของมนุษย์




Locke, John (1632-1704) (ล็อค,จอห์น) 
นักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษ ที่หลักการของเขานำไปใช้เป็นรากฐานแบบฉบับของประจักษ์นิยมบริทิช (classical British Empiricism) และหลักเสรีประชาธิปไตย (liberal democracy) เขามีผลงานมากมายที่ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อชาวโลก


Logic (ลอ-จิก) 
ตรรกวิทยาในความหมายที่กว้าง กฎหมายถึงการศึกษาว่าด้วยโครงสร้าง (structures) และหลักการใช้เหตุผล (principles of reasoning) ที่ถกแถลงอย่างสมเหตุสมผล (sound argument) ซึ่งจะนำไปสู่การตั้งบทเสนอความ (propositions) ว่าด้วยความจริง (truth) ตรรกวิทยาใหม่ ๆ มี 2 แบบได้แก่ แบบนิรนัย (deductive logic) ซึ่งเป็นการสรุปความจริงใหม่ จากความจริงที่เป็นสัจพจน์แล้ว กับตรรกวิทยาแบบอุปนัย (inductive logic) ซึ่งเป็นการสรุปความจริงใหม่จากข้อมูลเชิงสังเกตการณ์ในกลุ่มจำเพาะที่ศึกษาเดียวกัน ส่วนการศึกษารูปแบบของการใช้เหตุผล มีศัพท์ใช้เรียกว่าวากยสัมพันธ์ –deontic logic ตรรกวิทยาว่าด้วยปทัฏฐาน-the logic of the norms และ “ตรรกวิทยาเชิงคำสั่ง” – the logic imperative”


วิธีการทางปรัชญากับวิธีการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ต่างต้องอาศัยหลักตรรกวิทยามาใช้ในการอธิบายหลักการ บทเสนอความ และข้อโต้แย้งต่าง ๆ เพื่อสืบค้นหาความจริงที่ตรงที่สุด ตรรกวิทยาจึงเป็นทั้งการคิดเชิงเหตุผล การใช้ภาษา คือ ความหมายของความรู้ ความจริงออกมาอย่างมีหลักการแน่นอน ตรรกวิทยาเป็นวิชาที่จำเป็นสำหรับการศึกษาระดับวิชาการชั้นสูง ตั้งแต่ระดับอุดมศึกษาเป็นต้นไป







Lo-Ly


L



logical atomism (ลอ-จิ-คัล-อะ-ทอ-มิสซึ่ม)
  ปรัชญาที่นำเสนอไว้ในผลงานหรือ “Tractatus Logico Philosophicus” ของวิทเกนสไตน์ (Wittgenstein) โดยการวิเคราะห์เข้าไปในประโยค และความหมายของคำที่ใช้ จนพบกับ “ข้อเท็จจริงเชิงอะตอม-atomic facts”


logical positivism (ลอ-จิ-คัล-โพ-ซิ-ทิ-วิสซึ่ม)
กระแสความคิดเชิงปรัชญาของกลุ่มนักคิดที่เสวนากันและรวมตัวกันเป็น “กลุ่มเวียนนา-Vienna Circle”ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1920-1930 เป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญาประจักษ์นิยม (empiricism) โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลของฮิวม์ (Hume)เป็นการสืบค้นหาความหมายของภาษาที่ใช้ในเชิงตรรกวิทยาที่นำมาอธิบายความจริงใหม่ ๆ เพื่อให้หลุดพ้นจากวิธีการคิดที่ติดยึดอยู่กับแบบแผนเดิม ๆ ที่อธิบายความจริงแบบซ้ำไปเรื่อย ๆ (tautology)


Logos (โล-กอส)
(1) เป็นศัพท์เก่าแก่ที่แปลว่า “คำพูด-words” หรือ “ข้อถกแถลง-argument” 

(2) ถ้าใช้ด้วยอักษรตัวใหญ่ “the Logos” หมายถึง “พระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า”


Lokayata  (โลกายะตะ)
หรือ “โลกายัต” เป็นหลักปรัชญาอินเดียที่อธิบายว่า โลกเป็นไป โดยไม่มีชีวิตในโลกหน้าอีก (no-after life)


Lyceum (ลิ-ซิ-อุม)
สวนสาธารณะในกรุงเอเธนส์ ซึ่งต่อมาได้ใช้เป็นชื่อสำนักศึกษาปรัชญาของอริสโตเติลที่ก่อตั้งขึ้นราว ๆ ปี กคศ. 335




Mal-Mat


M



Malthus, Thomas Robert (1766-1834) (มัลธัส, โธมัส, รอเบิร์ต) 
เป็นนักบวชชาวอังกฤษ ผู้เขียน “Essay on Population-ความเรียงว่าด้วยประชากร (1803) ที่อธิบายว่ามนุษยชาติ จะถูกคุกคามด้วยอันตรายจากการขยายตัวของจำนวนประชากรที่เติบโตมีอัตราส่วนการขยายตัว เชิงเรขาคณิตและเชิงคณิตศาสตร์ ซึ่งนำไปสู่ความต้องการด้านอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว “กฎแห่งประชากร-Law of population” มี 2 ด้านคือ 

(1) ก่อให้เกิดการตาย

(2) ก่อให้เกิดการป้องกันการเกิด โรคภัยไข้เจ็บ สงคราม และความอดอยาก แร้นแค้นที่ทำให้ประชากรเกิดความอดอยากถึงขั้นที่จะเกิดความเสี่ยงภัยทางศีลธรรม และเกิดความชั่วร้ายขึ้นในหมู่มวลมนุษยชาติ



Mao Tse-Tung (1893-1976) (เหมา-เจ๋อ-ตุง) 
ผู้นำนักปฏิวัติและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (The Chinese People’s Republic) ผู้ได้ดัดแปลงปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษของมาร์กซหรือลัทธิมาร์กซ (Marxism) มาปรับใช้เป็นทฤษฎีใหม่ เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศจีน


Marxism  (มาร์กซิสซึ่ม) 
หลักคิดที่ได้รับอิทธิพลมาจากหลักการของมาร์กซ(Marx) และแอ็งเกิล (Engel)



Materialism (แม็ท-ที-เรียล-ลิสซึ่ม)
วัตถุนิยมเป็นแนวคิดทางปรัชญา ที่ให้ความสนใจว่า “วัตถุ” เป็นแก่นแท้ของสิ่งทั้งหลาย มีตั้งแต่สมัยกรีกจนถึงปัจจุบัน จากเดโมคริตุส (Democritus) ถึงมาร์กซ (Marx)


Mathematics, philosophy of   (แมธ-แม-ติกส์)
ปรัชญาคณิตศาสตร์ เป็นการนำปรัชญามาศึกษาสังกัปและการตัดสินหลักการทางคณิตศาสตร์ เช่น ในข้อความทางคณิตศาสตร์ (mathematical statement) ที่ว่า 2+2=4 เรามีความรู้อย่างไรที่จะระบุได้ว่า หลักการเชิงคณิตศาสตร์นี้จริงเสมอไป เป็นต้น





Mat-Mi


M



Matter (แมท-เท่อร์) 
วัตถุ, สสาร เป็นสิ่งที่ใช้ศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาเรื่องจิต (Mind) วัตถุ สสาร กาย กับจิต อะไรเป็นแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ เป็นแนวคิดที่มีมาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณจนถึงปัจจุบัน


Mechanism (เม็ค-แค-นิสซึ่ม)  กลไกนิยม 
มีความหมาย

(1) ปรัชญาวิทยาศาสตร์ (scientific philosophy) ที่พัฒนาหลักการโดยเดซ์การ์ตส์ (Descartes) 

 (2) ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาถึงกลไก แบบจำลองเชิงกลไก (mechanical models)
(3) หลักการที่มองดูธรรมชาติของมนุษย์และโลกอย่างเป็นกลไก



Metaphysics (เม-ตา-ฟิ-สิกส์)
อภิปรัชญาที่มีมาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาวิเคราะห์ในความเป็นจริงที่อยู่เหนือภาวะทางกายภาพออกไป ที่เป็นรากฐานของความจริงทางกายภาพ


Mill, James (มิลล์เจมส์)
(1773-1836) นักปรัชญา นักประวัติศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ เชื้อสายสก็อต เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้คอลเลจแห่งลอนดอน (The University College, London) เป็นผู้ให้ความสนใจในการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งเสนอระบบคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมือง เป็นบุคคลผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดคนหนึ่งของสหราชอาณาจักรในยุคนั้น


Mill, John Stuart (มิลล์จอห์น สจ็วต) (1806-1873)
นักปรัชญาชาวอังกฤษ บุตรชายของนักปรัชญาเจมส์ มิลล์ เจ้าตำรับปรัชญาประโยชน์นิยมมหสุข (Utilitarianism) และปรัชญาเสรีภาพ


Mimamsa (มี-มาม-สา) 
มิมามสา ระบบคิดในปรัชญาอินเดีย


Mind-body problem 
ปัญหากาย-จิตเป็นปรัชญาที่ศึกษาว่า จิตสัมพันธ์กับกายอย่างไร มีคุณลักษณะกิจหน้าที่ (function) และอาการปรากฎใดบ้างที่เรียกได้ว่าเป็นทางกาย (physical) หรือ ทางใจ (mental)




Mi-On


M



Mind, philosophy of mind  
ปรัชญาจิตเป็นการศึกษาจิตและกิจการทางใจ


Monadology  (โม-นา-โด-โล-จี)
โมนาดวิทยาเป็นศัพท์ที่เสนอไว้โดยเลียบนิซ (Leibniz) ในปี ค.ศ. 1714 หมายถึง “หน่วย – unit” หรือ “หน่วยเอกภาพ – unity” ซึ่งเป็นการจับตัวของสารัตถะ-ทรัพย์ (substance) ต่าง ๆ





Monism (โมนิสซึ่ม)
เอกนิยม

 (1) เป็นปรัชญาที่อธิบายถึง ความมีหนึ่งเดียว (one) ของสรรพสิ่ง 

(2) การถกแถลงเชิงปรัชญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกายว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นเอกภาพเดียวกัน



Montaigne, Michel Eyquem de (1533-1592) (มง-ตาจ์นมิเชลไอเควียม,เดอ)
นักมนุษยนิยมชาวฝรั่งเศส ผู้มีอิทธิพลต่อแนวคิดทางปรัชญา




Moore, George Edward (1873-1958) (มัวร์จอร์ชเอ็ดเวิร์ด) 
นักปรัชญาชาวบริทิชผู้มีผลงานดีเด่นด้านการวิเคราะห์แนวคิดชิงจริยศาสตร์ดังผลงานเรื่อง “Principia Ethica (1903)” “Ethics- จริยศาสตร์” (1912)







O



Ockham’s razor (อ็อตคัม-เร- เซอร์) 
หลักการที่อธิบายว่า “สิ่งทั้งหลายไม่ทวีจำนวนโดยเกินความจำเป็น” (Entities are not to be multiplied beyond necessity.)



Ontology (ออน-โท-โล-จี) 
(1) สาขาของอภิปรัชญาว่าด้วยการศึกษา การดำรงอยู่ (existence) อะไรคือ “การดำรงอยู่จริง-real existence” อะไรเป็น “อาการที่ปรากฏ – appearance”





Op-Pa


O



Optimism (อ็อป-ทิ-มิสซึ่ม) และ pessimism (เพ็ส-ซิ-มิส-ซึ่ม) 
“การมองโลกในแง่ดี” หมายถึงการมองโลกและชีวิตด้วยเจตคติที่ดีเชิงบวก ตรงกันข้ามกับ “การมองโลกในแง่ร้าย” หมายถึง การมองดูว่าโลกมีสิ่งชั่วร้าย-evil อยู่ในโลก



Organon  (ภาษากรีก)  (ออ-กา-น่อน)

แปลว่า เครื่องมือ อุปกรณ์ เป็นศัพท์ที่อริสโตเติลใช้อธิบายปรัชญาของเขาเช่น เดียวกับที่เบคอนใช้ โดยมีคำละตินที่ใช้ในความหมายเดียวกันคือ “Organum-ออ-กา-นุ่ม)







original sin (ออริจินัล ซิน) 
ความบาป ตามหลักความเชื่อของศาสนาคริสต์ที่ว่า เผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ถูกทำให้มีมลทิน (corrupted) ให้เกิดต้นบาปที่เป็นผลพวงมาจากการไม่เคารพสัญญาที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าที่เริ่มก่อขึ้นมาโดยมนุษย์ผู้ชายคนแรกคือ อดัม (Adam) กับมนุษย์ผู้หญิงคนแรกคือ อีฟ (Eve) ผู้ที่ได้รับความเชื่อว่า เป็นบรรพบุรุษต้นกำเนิดแรกของมนุษยชาติทำให้ลูกหลานเผ่าพันธุ์ติดเชื้อบาปมาแต่กำเนิดจนถึงทุกวันนี้



P



Pantheism (แพน-เธ-อิสซึ่ม)
หลักศรัทธาที่เชื่อว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทรงอำนาจแผ่ปกครองอยู่ทั่วไปในโลกและจักรวาล รวมทั้งธรรมชาติและมนุษย์




Paradigm (พาราไดม์)
ในหลักปรัชญาวิทยาศาสตร์ เป็นการอธิบายภาวะการเกิดวิกฤต (crisis) ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ต่อมาได้นำไปใช้ในการอธิบายการเคลื่อนไหวของรูปแบบ กระแสคิดการมองโลกและชีวิตปทัฏฐาน วิถีปฏิบัติวัฒนธรรม อารยธรรมของมนุษย์ที่เมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤต จะมีการถ่ายเทแลกเปลี่ยนต่อกัน ในปัจจุบันนี้นิยมใช้ศัพท์ว่า “กระบวนทัศน์” หรือ “วิถีทรรศน์”



Pa-Ph



P



Pascal, Blaise (1623-1662)  (ปัสคัลแบลส์)
นักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ นักเทววิทยา ชาวฝรั่งเศสผลงานเด่นเช่น “Penseés (ป็อง-เซ) การคิด” (1670) ปัสคัล ได้เสนอภาพของมนุษย์ในขณะเล่นการพนันต่อรองกัน ในเกมส์การพนันที่มีทั้งโอกาสได้หรือโอกาสเสียที่เท่า ๆ กัน และมีโอกาสได้รับอย่างไม่จำกัด (the infinite to gain)





Phenomenalism  (ฟี-โน-มี-นัล-ลิสซึ่ม) 
การวิเคราะห์เชิงปรัชญาว่าด้วยบทเสนอความเกี่ยวกับวัตถุ ที่ปรากฎอยู่ตามอาการที่ปรากฏ (appearance) จึงเรียกหลักการนี้ว่าปรัชญาว่าด้วยการรับสัญญารู้เชิงประสบการณ์เป็นแนวคิดที่มีอิทธิพลได้รับความสนใจจากนักคิดหลายด้าน เช่น Mill (มิลล์) และกลุ่มเวียนนา




Phenomenology (ฟี-โน-มี-โน-โล-จี)
เทคนิคทางปรัชญา ที่พัฒนาโดยนักปรัชญาชื่อ เฮิสเซิร์ล (Husserl) ที่ได้รับสืบทอดมาจากแนวคิดของอาจารย์ของเขาชื่อเบรนทาโน (Brentano) ที่ศึกษาภาวะภายนอก ภายใน อาการที่ปรากฏของสิ่งนั้น ๆ ที่แยกออกจากการรับรู้ของจิตเป็นกระบวนการเชิงปรากฏการณ์ แนวคิดนี้จึงเรียกว่า “ปรัชญาปรากฏการณ์วิทยา”


Philosopher kings   หรือ     กษัตริย์นักปราชญ์”  
เป็นข้อเสนอของเพลโต ในปรัชญาการเมือง ที่ปรากฏอยู่ในผลงานเขียน “the Republic” ที่ว่า สังคมจะมีความผาสุกได้ ต้องปกครองด้วยคนมีภูมิปัญญาสูงอย่างนักปราชญ์ที่แท้จริง ไม่ใช่ว่า ใครก็ได้ที่จะมาเป็นผู้ปกครองและนักการเมือง ทั้งนี้เพราะผู้บรรลุการพัฒนาภูมิปัญญาถึงนักปราชญ์แล้วจะตระหนักดีว่า คุณธรรมคือความรู้ ความรู้คู่คุณธรรม “กษัตริย์นักปราชญ์” จึงเป็นผู้ปกครองในอุดมคติของสังคมที่ดีของเพลโต





Pa-Pr


P



Plato (กคศ. 428- กคศ.348)  
นักปรัชญากรีกผู้เรืองนามมีผลงานมากมาย ที่สะท้อนถึงหลักปรัชญาของโสกราติส (Socrates) บรมครูทางปรัชญาของโลกด้วยกระบวนการนำเสนอแบบวิภาษ (dialectic) ที่นำเสนอแนวคิดทางปรัชญาด้วย“บทสนทนา-dialogue” มีผลงานเด่นได้แก่ “The Republic- สาธารณรัฐ” ซึ่งเสนอแนวคิดทางปรัชญาการเมืองที่ให้พัฒนาคัดสรรบุคคลที่จะมาเข้าเป็นผู้ปกครองหรือนักการเมืองด้วยกระบวนการเรียนรู้ทางปรัชญา จนบรรลุถึงความเป็นนักปราชญ์ และปกครองสังคมในฐานะ “กษัตริย์นักปราชญ์-Philosopher King”


Platonism  (เพลโตนิสซึ่ม) 
ปรัชญาที่ได้รับอิทธิพลมาจากหลักปรัชญาของเพลโต




Pluralism  (พลู-รัล-ลิสซึ่ม)
หรือ “พหุนิยม” เป็นทัศนะที่ว่าโลกประกอบด้วยหลาย ๆ ประเภทของสิ่งต่าง ๆ ที่หลากหลาย






Political  philosophy
ปรัชญาการเมือง เป็นการนำเสนอปรัชญา เข้าไปวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสังคมการเมืองของมนุษย์ เช่น ใน “The Republic” ของเพลโต ในปรัชญาของมาเคียเวลลี่ (Machiavelli) ปรัชญาของฮ็อบ์ส (Hobbes) ปรัชญาของล็อค (Locke) ปรัชญาของรุสโซ (Rousseau) ปรัชญาของจอห์น รอว์ลส (John Rawls) ในหนังสือชื่อ “A Theory of Justice-ทฤษฎีว่าด้วยความยุติธรรม” (1972) ปรัชญาเฮเกล ปรัชญามาร์กซ ปรัชญาของมิลล์ เป็นต้น


Positivism (โพ-ซิ-ทิ-วิสซึ่ม) 
“ปฏิฐานนิยม” ปรัชญาที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากออกุส ก็งต์ (August Comte) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นการนำหลักปรัชญากับวิทยาศาสตร์มาผสมผสานกันเพื่อใช้วิเคราะห์ความจริง


Pragmatism (แพร็ค-มา-ทิสซึ่ม)
“ปฏิบัตินิยม” ปรัชญาที่เริ่มต้นมาจากแนวคิดของเพิร์ซ (Pierce) ซึ่งพิจารณา “ความจริง” จาก “ความคิด” ที่นำมาปฏิบัติได้จริงด้วยประสบการณ์ นักคิดปฏิบัตินิยมได้แก่ วิลเลียม เจมส์ จอห์น ดิวอี้ เป็นต้น เป็นกระแสปรัชญาจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทางการศึกษาไปทั่วโลก



Qu-Ri



Q



Quantum  Mechanics (ควัน-ตั้ม-แมค-แค-นิกส์
หมายถึง  ระบบกลไกที่ใช้อธิบายพฤติกรรมของอะตอมโมเลกุล และอนุภาคของธาตุต่าง ๆ




R



Radical  philosophy (แร-ดิ-คัล-ฟิล-ลอส-โซ-ฟี่) 
ความเคลื่อนไหวกระแสคิดทางปรัชญาในระหว่างคริสตวรรษประมาณ 1970 ที่เสนอแนวคิดใหม่เช่นการอธิบายโลกอย่างแตกต่างไปจากแบบฉบับเดิม ๆ


Rationalism (แร-ชั่น-เนล-ลิสซึ่ม)
เหตุผลนิยมแนวคิดทางปรัชญาที่ยอมรับในการอธิบายด้วยการเกิดเชิงเหตุผล แทนที่จะใช้ความเชื่อต่าง ๆ เช่น ความเชื่อ ความศรัทธาทางศาสนา



Rawls, John (1921-  2002  ) 
นักปรัชญาจริยศาสตร์ชาวอเมริกัน ที่เสนอทฤษฎีว่าด้วยความยุติธรรม



Relativism (รี-เล-ทิ-วิสซึ่ม) 
“สัมพัทธนิยม” เป็นหลักแนวคิดที่อธิบายว่าด้วยความมีปฏิสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลาย





Relativity 
“สัมพัทธภาพ” เป็นหลักวิทยาศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยอัลเบิร์ต ไอสไตน์ (Albert Einstein) ด้วยหลักฟิสิกส์สมัยใหม่



religion, philosophy of 
“ปรัชญาศาสนา” เป็นการใช้กระบวนการคิดปรัชญา  (philosophizing)  อธิบายหลักคำสอน ความเชื่อ ศรัทธา ทางศาสนา




rights (ไร้ท์ส)  
หมายถึง “สิทธิ” ของสมาชิกในสังคมรวมทั้ง “เสรีภาพ” ด้านต่าง ๆ และสิทธิทางกฎหมาย



Ro-Sc


R



romanticism (โร-แมน-ติ-ซิสซึ่ม)
เป็นความเคลื่อนไหวของกระแสคิดปรัชญาว่าด้วย ศิลปะ ประวัติศาสตร์และทฤษฎีทางการเมือง



Rousseau, Jean-Jacques  (รุสโซช็อง-จ็ากส์) (1712-1778)
นักปรัชญาการเมือง และการศึกษา ชาวฝรั่งเศส ผู้เสนอหลักคิดว่าด้วย “สัญญาประชาคม – social contract” และอธิบายอำนาจอธิปไตยว่าเป็นของปวงชน ไม่ใช่ของผู้ปกครอง



Russell, Bertrand Arthur William  (รัสเซลเบอร์ทรัลต์ อาร์เธอร์ วิลเลียม)  (1872-1970) 
นักปรัชญาเรืองนามแห่งสหราชอาณาจักร ผู้เสนอหลักคิดทางคณิตศาสตร์สมัยใหม่ และหลักปรัชญาว่าด้วยจิต แนวใหม่ ผลงานเช่น “Principles of Mathematics – หลักคณิตศาสตร์ “(1903) และ“Analysis of Mind – การวิเคราะห์จิต” (1921) เป็นต้น




S



Santayana,  George (สันตะยนะจอร์ช)  (1863-1952)  
นักคิดชาวอเมริกัน เชื้อสายสเปน นักเขียนนวนิยาย และกวี ลูกศิษย์ปรัชญาของวิลเลียม เจมส์ ที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด




Sartre, (Jean-Paul)   (ซาร์ตรช็อง ปอล)   (1905-1980)
 นักปรัชญาและนักเขียนนวนิยาย ชาวฝรั่งเศส ผู้นำเสนอหลักการใหม่ที่ว่า “มนุษย์ คือ เสรีภาพ” และอยู่ในกลุ่มนักคิดอัตถิภาวนิยม (Existentialism)



Scepticism (สเก็ป-ติ-ซิสซึ่ม) 
ทัศนะทางปรัชญาที่สงสัยไว้ก่อนว่า ไม่มีทางที่คนเราจะเข้าถึงความรู้ที่จริงแท้ได้ ตามรากศัพท์กรีกมาจากคำว่า “skep” แปลว่า “seeking-แสวงหา” ซึ่งตรงข้ามกับความหมายของคำว่า “dogmatic”-หลักการที่ยึดถือไว้



Sc-Sp


S


Scholasticism (สกอ-ลาส-ติ-ซิสซึ่ม) 
สำนักศึกษาปรัชญาในยุคกลาง รากศัพท์มาจากคำที่มีความหมายว่า “leisure- พักผ่อนหย่อนใจ” ต่อมาแนวคิดปรัชญาการแสวงหาความรู้เพื่อความเพลิดเพลินได้ขยายตัวออกไปหลายยุคหลายสมัย เป็นการศึกษาเพื่อแสวงหาความรู้และการพัฒนาการทางศึกษาอย่างหลากหลาย


Schopenhauer, Arthur (โชเปนเอาเออร์อาเธอร์  (1788-1860) 
นักคิดก่อนแนวปรัชญาค้านท์ (post-Kantian)



Sensible world (เซ้น-ซิเบิล-เวิลด)
โลกที่เรารับรู้ได้ด้วยประสบการณ์ทางผัสสะ





Social philosophy – “ปรัชญาสังคม”



Socratic method (โซเครติก เม็ดธ็อต) 
วิธีการโสกราตีส หรือวิธีการวิภาษคือ เป็นไปตามลำดับการศึกษาของการสนทนาทางปรัชญาที่เมื่อประเด็น คำถาม และผู้ร่วมสนทนาจะให้นิยามต่าง ๆ และขยายความคิดกันไปจนถึงระบบหนึ่ง ทุกคนจะเกิดพัฒนาการทางความรู้คิดในประเด็นปัญหานั้นได้เอง



Sophists (โซฟิสต์ส) 
มาจากรากศัพท์กรีกคำว่า “sophists” แปลว่า “expert-ผู้ชำนาญการ” หรือผู้เชี่ยวชาญ เป็นกลุ่มคนในยุคสมัยโสกราติสที่ฝึกสอนให้การศึกษาแก่คนหนุ่มในเอเธนส์ ในฐานะผู้ชำนาญการหรือผู้เชี่ยวชาญ



Space and time, philosophy of  (สเปซ แอนด์ ไทม์) 
ปรัชญาว่าด้วยการศึกษามิติของ “เทศะ-space” ซึ่งเป็นระวางพื้นของสิ่งต่าง ๆ และว่าด้วย “กาละ-time”



Sp-Ta


S



Spinoza, Benedicts  Baruch de) (สปินโนซาเบเนดิ๊กซ์  บารู๊ค เดอ)(1632-1677) 
นักปรัชญาเหตุผลนิยม เชื้อสายยิว ชาวอัมสเตอรดัม (Amsterdam) มีผลงานอย่างหลากหลาย ตั้งแต่ด้านการศึกษาทางด้านศาสนา (พระผู้เป็นเจ้า) ไปถึงธรรมชาติที่สุดของสิ่งต่าง ๆ จนกระทั่งปรัชญาว่าด้วยเสรีภาพ



Stoicism (สโต-อิ-ซิสซึ่ม) 
กลุ่มปรัชญาที่ตั้งชื่อตามชื่อศาลาประชาคมที่เอเธนส์ ที่ชื่อว่า “the Stoa Poikile” เป็นแนวปรัชญาเหตุผลนิยมแบบกรีกที่เชื่อว่า ต้องมีการควบคุมความต้องการทางกายไว้อย่างเคร่งครัด ให้จิตนิ่งสงบทรงพลังจึงจะเกิดปัญญาเอาชนะความบาป ความชั่วร้ายได้



Subjectivism (ซับเจ็ก-ทิวิสซึ่ม)  กับ objectivism (อ็อบเจ็ก-ทิวิสซึ่ม)
เป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกัน “subjectivism- อัตวิสัย” เป็นมุมมองที่สะท้อนเจตคติและความเชื่อส่วนบุคคล ส่วน คำว่า“objectivism-ภาววิสัย” เป็นมุมมองที่ยกเอาความเป็นอัตวิสัย หรือความคิดส่วนตัวออกไป มองสิ่งต่าง ๆ อย่างที่เป็นจริงภายนอกจิต



Substance (ซับสแต๊นซ์) 
ทรัพย์ หรือ สารัตถะ แก่นสาร แก่นแท้ มาจากคำกรีก “ousia” ที่แปลตรงกันกับคำอังกฤษว่า “ essence” ความหมายเดียวกับที่กล่าวมา



summum bonum (ซัม-มุม-โบ-นุม)
เป็นคำละติน แปลว่า “the greatest god : องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ที่สุด หมายถึง สิ่งที่เกี่ยวข้องกัน “ความสูงสุดขององค์พระผู้เป็นเจ้า”



T



tabula rasa (แท็บ-บุ-ล่า-รา-ซ่า)
มาจากคำละติน แปลว่า “a blank tablet-กระดานที่ว่างเปล่า” เป็นการอธิบายสภาวะจิตของมนุษย์ในทันทีที่ที่เกิดมาเป็นจิตว่างเปล่า ต่อมาได้รับประสบการณ์มาพิมพ์ลงในจิตจึงเกิดเป็นความรู้คิดต่าง ๆ ขึ้น


Taoism  (เต๋า-อิสซึ่ม)  
ลัทธิเต๋า สำนักปรัชญาจีนว่าด้วยวิถีที่ยิ่งใหญ่






Th-Wi


T


Theism (เธ-อิส-ซึ่ม) 
เทวนิยม ความเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้า (God) มีอยู่ และทรงเป็นผู้สร้าง ผู้รู้แจ้งทั่ว (omniscient Creator) หรือสัพพัญญู



Truth (ทรุธ) 
ความจริงแท้ “สัจธรรม”



U


Utilitarianism   (ยู-ทิล-ลิ-แท-เรี่ยน-นิสซึ่ม)
ลัทธิประโยชน์นิยม



Utopianism (ยู-โธ-เปี้ยน-นิสซึ่ม
ลัทธิว่าด้วยสังคม หรือ รัฐ “ในอุดมคติ” หมายถึง สังคม หรือ รัฐ ในอุดมคติ หมายถึง สังคมหรือรัฐ แบบที่ดีที่สุดและสมบูรณ์แบบที่สุด



Wittgenstein, Ludwig  (วิทเก้นสไตน์,  ลุดวิก) (1889-1951) 
นักปรัชญาปฏิฐานนิยม นักคณิตศาสตร์ ผู้มีผลงานการวิเคราะห์เชิงปรัชญาวิพากษ์และปรัชญาภาษาอย่างลึกซึ้ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

2leep.com