ธงชาติสหภาพโซเวียต
มิคาอิล กอร์บาชอฟ
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต เป็นชื่อเรียกช่วงเวลาระหว่าง ปี ค.ศ. 1985 ถึง
ค.ศ. 1991 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นาย มิคาอิล กอร์บาชอฟ เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต เขาได้เดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองของสหภาพโซเวียต ภายใต้โครงการ เปเรสตรอยกา และกลาสต์น็อตซึ่งเป็นการเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนบุคคล ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวทำให้ประชาชนในสหภาพโซเวียตตระหนักถึงเสรีภาพในการดำรงชีวิต ทำให้เกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 ในที่สุดการขึ้นสู่อำนาจของกอร์บาชอฟ
มิคาอิล กอร์บาชอฟ แม้ว่าการปฏิรูปก่อนหน้านั้นได้ล่าช้าลงในช่วงปี 1964-1982 แต่ว่าการที่คนรุ่นใหม่ได้มีอำนาจแทนคนรุ่นเก่าก็ได้สร้างสภาวะที่เหมาะแก่การปฏิรูปขึ้นอีกครั้ง ความสัมพันธ์ของสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาที่เปลี่ยนแปลงไปก็ยังเป็นความจำเป็นหนึ่งของการปฏิรูป แม้ว่าประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ได้ล้มเลิกนโยบายประนีประนอมหลังจากที่สหภาพโซเวียตโจมตีอัฟกานิสถาน แต่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก็ได้ขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เหตุการณ์วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ในสมัยแรกของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนในเวลานั้นเอง มิคาอิล กอร์บาชอฟ ก็ได้สนับสนุนนโยบายที่จะนำไปสู่การล่มสลายทางการเมืองของสหภาพโซเวียต โดยการควบคุมเศรษฐกิจผ่านทางนโยบายกลาสนอสต์ (การเปิดกว้างทางการเมือง) เปเรสตรอยกา (การวางโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่) และอุสโคเรนิเย (การเร่งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ) เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตก่อนหน้านั้นได้รับผลเสียจากอัตราเงินเฟ้อแฝงและการขาดแคลนวัตถุดิบอันเนื่องมาจากการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ
นโยบายเปเรสตรอยกาและกลาสนอสต์
มิคาอิล กอร์บาชอฟ ได้เป็นผู้นำสหภาพโซเวียต นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 1985 ไม่นานหลังจากการเสียชีวิตของคอนสแตนติน เคอร์เชนโก กอร์บาชอฟได้ริเริ่มการปฏิรูปทางการเมืองหลายอย่างภายใต้นโยบายที่เรียกว่า กลานอสต์ ประกอบด้วย การลดความเข้มงวดในการเซนเซอร์ การลดอำนาจหน่วยเคจีบี และการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นั้นมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดการต่อต้านการปฏิรูปทางเศรษฐกิจจากกลุ่มอำนาจฝ่ายอนุรักษ์นิยมภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ภายใต้การปฏิรูปนี้ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในพรรคคอมมิวนิสต์จะต้องมาจากการเลือกตั้ง (โดยสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เอง)ซึ่งเป็นการใช้ระบบนี้ครั้งแรก ท่ามกลางการคัดค้านจากกลุ่มอนุรักษ์นิยม อย่างไรก็ตาม การลดความเข้มงวดในการเซนเซอร์และความพยายามที่จะสร้างการเมืองที่เปิดกว้างมากขึ้นโดยกอร์บาชอฟ ได้ปลุกความรู้สึกชาตินิยมและต่อต้านรัสเซียในสาธารณรัฐเล็กๆ ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในสหภาพโซเวียต ในคริสต์ทศวรรษ 1980 เสียงที่เรียกร้องอิสรภาพจากการปกครองจากมอสโกได้ดังขั้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในสาธารณรัฐแถบทะเลบอลติก คือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ที่รวมกับสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี 1940 โดยโจเซฟ สตาลิน ความรู้สึกชาตินิยมนั้นก็ยังได้แพร่หลายในสาธารณรัฐอื่น ๆ เช่น ยูเครน จอร์เจียและอาเซอร์ไบจาน ขบวนการชาตินิยมเหล่านี้ได้เข้มแข็งขึ้นอย่างมากเมื่อเศรษฐกิจของโซเวียตตกต่ำ รัฐบาลที่กรุงมอสโกนั้นกลายเป็นแพะรับบาปของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แสดงว่า กอร์บาชอฟนั้นได้ปลดปล่อยพลังที่จะทำลายสหภาพโซเวียตไปแล้วโดยไม่ได้ตั้งใจ
การล่มสลายของสหภาพโซเวียตเกิดประเทศใหม่ 15 ประเทศ
1. รัสเซีย - สหพันธรัฐรัสเซีย Russian Federation (Russian SFSR)เมืองหลวง คือ มอสโก
2. ยูเครน Ukrainian SSRเมืองหลวง คือ เคียฟ Kiev
3. อาร์เมเนีย Armenian SSRเมืองหลวง คือ เยราวาน Yerevan
4. เบลารุส Byelorussian SSR เมืองหลวง คือ มินสก์ Minsk
5. จอร์เจีย Georgian SSR เมืองหลวง คือ ทบีลีซี Tbilisi
6. มอลโดวา Moldavian SSR เมืองหลวง คือ คีชีเนา Chişinău
7. คาซัคสถาน Kazakh SSR เมืองหลวง คือ อัลมา-อาตา Alma-Ata
8. อุซเบกิสถาน Uzbek SSR เมืองหลวง คือ ทัสเคนต์ Tashkent
9. เติร์กเมนิสถาน Turkmen SSR เมืองหลวง คือ อัชกาบาด Ashgabat
10. คีร์กิซสถาน Kirghiz SSR เมืองหลวง คือ บิชเคก: Bishkek)
11. ทาจิกิสถาน Tajik SSRเมืองหลวง คือ ดูชานเบ Dushanbe
12. อาเซอร์ไบจาน Azerbaijan SSRเมืองหลวง คือ บากู Baku
13. เอสโตเนีย* Estonian SSRเมืองหลวง คือ ทัลลินน์Tallinn
14. ลัตเวีย*Latvian SSR เมืองหลวง คือ ริกา Riga
15. ลิธัวเนีย*Lithuanian SSR เมืองหลวง คือ วิลนิอุส Vilnius
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น