ปรัชญาตะวันตก เป็นการประติดประต่อความคิดของนักคิดหลายคนเข้าด้วยกัน โดยที่ความจริงแล้วความคิดเหล่านั้นไม่น่าจะสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเลย เพราะเป็นความคิดคนละฐานกัน ส่วนปรัชญาตะวันออกนั้น อาศัยความตรัสรู้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นฐานอันแน่นอนแล้วค่อยขยายตัวออกไปตามสติปัญญาของปรัชญาเมธีนั้น ๆ ในกาลต่อ ๆ มา ในขั้นนี้เรียกว่า มีพฤติการณ์ต่างกัน
Philosophy คือ ความสงสัย เพราะเรายังสงสัยหาคำตอบไม่ได้ จึงพยายามค้นหาหลักฐานเพื่อให้คำตอบแก่สิ่งที่เราสงสัยนั้น Philosophy จึงเกิดจากความสงสัย มูลรากของปรัชญา คือความตรัสรู้ของพระฤๅษีนั้นคือปรัชญาตะวันออก เกิดจากกาตรัสรู้ของผู้เป็นต้นลัทธิ
การพยายามค้นหาคำตอบเพื่อแก้ความสงสัยนั่นเอง คือตัวปรัชญาของปรัชญาตะวันตก การอธิบายความตรัสรู้ของพระฤๅษีนั้น ตามหลักเหตุผลนั้นคือตัวปรัชญาของปรัชญาตะวันออก
ในทางตะวันออก ปรัชญาคือพฤติการณ์ตามหลักเหตุผลอันเกิดจากความตรัสรู้เป็นบรรทัดฐาน ในทางตะวันตก ปรัชญาคือพฤติการณ์ตามหลักเหตุผลอันเกิดจากความสงสัยหรือความแปลกใจ
ปรัชญาตะวันตก มุ่งสมัชชาภาพแล้วจึงกลับมาปัจเจกภาพ มีวิถีเป็นปฏิโลม ปรัชญาตะวันออก มุ่งปัจเจกภาพแล้วจึงขยายไปสู่สมัชชาภาพ มีวิถีเป็นอนุโลม
การศึกษาปรัชญาตะวันตก ยังผลให้รู้พฤติการณ์ของธรรมชาติ ยังไม่รู้ถึงตัวธรรมชาติ การศึกษาปรัชญาตะวันออก เป็นการศึกษาถึงแดนเกิดของตัวบุคคล พฤติการณ์ของบุคคลที่ดำเนินอยู่ และอวสานอันบุคคลจะพึงบรรลุในวาระสุดท้าย เท่ากับเป็นการเรียนรู้ชีวิตของเราเองแต่เบื้องต้นจนอวสาน (สวามี)
ความแตกต่างระหว่างปรัชญาตะวันออก – ตะวันตก
ปรัชญาตะวันตก หมายถึงความรู้เรื่องหลักคือหลักเกี่ยวกับโลกและชีวิต ส่วนปรัชญาตะวันออก หมายถึงความรู้อันประเสริฐคือความรู้ที่ทำให้หลุดพ้นจากโลกียะ
ปรัชญาตะวันตก เป็นการพยายามหาทางทำลายความสงสัยส่วนปรัชญาตะวันออก เป็นความรู้หลังจากหมดความสงสัยแล้ว
ปรัชญาตะวันตก เป็นการประติดประต่อความคิดของหลาย ๆ คนเข้าด้วยกัน โดยที่แต่ละคนก็คิดกันคนละฐานส่วนปรัชญาตะวันออก อาศัยความตรัสรู้ของคนใดคนหนึ่งเป็นฐานแล้วขยายต่อออกไปตามเหตุผล หรือความสามารถทางสติปัญญาของนักคิดหรือผู้อธิบายแต่ละคน
ปรัชญาตะวันตกเริ่มจากความสงสัย ส่วนปรัชญาตะวันออก เริ่มต้นจากความหมดสงสัยหรือความรู้แจ้ง
ปรัชญาตะวันตก เป็นการพยายามแสวงหาคำตอบเพื่อแก้ความสงสัย ฐานของปรัชญาตะวันตกคือความสงสัย ส่วนปรัชญาตะวันออก เป็นการอธิบายหรือขยายความของความตรัสรู้ตามหลักเหตุผล ฐานของปรัชญาตะวันออก คือความตรัสรู้หรือความรู้อันสมบูรณ์แล้ว
ปรัชญาตะวันตก แสวงหาความรู้จากสิ่งภายนอกเพื่ออธิบายความจริงภายใน ส่วนปรัชญาตะวันออก แสวงหาความรู้จากสิ่งภายในเพื่ออธิบายความจริงภายนอก
ปรัชญาตะวันตก มุ่งศึกษาความจริงส่วนรวมเพื่อเอามาอธิบายความจริงส่วนย่อย ส่วนปรัชญาตะวันออก มุ่งแสวงหาความจริงส่วนย่อยเพื่ออธิบายความจริงส่วนรวม
ปรัชญาตะวันตก เริ่มต้นการศึกษาโดยอาศัยการสังเกตหรือประสบการณ์จากภายนอก แล้วจึงพยายามตีความตามหลักเหตุผล ส่วนปรัชญาตะวันออก เริ่มต้นการศึกษาด้วยการเพ่งพินิจภายในจนเห็นความจริง แล้วจึงอธิบายความจริงนั้นตามที่ตนเห็น
ปรัชญาตะวันตก แรงกระตุ้นที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการคิดค้นในทางปรัชญา คือความสงสัยใครจะรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมหรือความเป็นไปขอธรรมชาติหรือสิ่งรอบ ๆ ตัวเอง ฉะนั้นปรัชญาตะวันตกจึงมีลักษณะเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติเพื่อเข้าใจธรรมชาติ ส่วนปรัชญาตะวันออก แรงกระตุ้นสำคัญที่ก่อให้เกิดการคิดค้นทางปรัชญานั้นคือปัญหาของชีวิต หรือปัญหาของตัวเอง ฉะนั้นปรัชญาตะวันออกจึงมีลักษณะเป็นแนวทางแก้ปัญหาชีวิตหรือเป็นวิธีปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
ปรัชญาตะวันตก นักปรัชญาเป็นเพียงนักคิด ข้อสรุปของปรัชญาตะวันตกจึงเป็นผลของการคิด ส่วนปรัชญาตะวันออก นักปรัชญาเป็นนักปฏิบัติ ข้อสรุปของปรัชญาตะวันออกจึงเป็นผลของการปฏิบัติด้วยตนเอง
ปรัชญาตะวันตก จุดหมายปลายทางของนักปรัชญา คือความรู้หรือการรู้ความจริงเกี่ยวกับโลกหรือธรรมชาติ ส่วนปรัชญาตะวันออก จุดหมายปลายทางของปรัชญาคือการเข้าถึงความจริงหรือหลุดพ้นจากสิ่งที่ไม่จริงคือโลก
นิยามของปรัชญาตะวันตกคือ พฤติการณ์ตามหลักเหตุผลอันเกิดจากความสงสัยใคร่จะรู้ คำนิยามของปรัชญาตะวันออกคือพฤติการณ์ตามหลักเหตุผลอันมีความตรัสรู้เป็นบรรทัดฐาน
ลักษณะปรัชญาอินเดีย
พระเวทเกิดขึ้นเมื่อราว 1,500 ปีก่อน ค.ศ. ประวัติความคิดของอินเดีย อาจแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ยุคของพระเวท ซึ่งนับแต่ระยะแรกเริ่มมาจนสิ้นยุคของพระเวทประมาณ 500 ปีก่อน ค.ศ. หลักฐานต่าง ๆ ในยุคนี้เรียกว่า ศรุติ คือเป็นความรู้ที่พระเจ้าเปิดเผยให้รู้ แต่หลักฐานเหล่านี้ได้รับการรวบรวมขั้นในยุคกลาง และมีความแน่นอนเชื่อถือได้เพราะรักษากันมาในฐานะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ยุคสันสกฤตหรือยุคคลาสสิก เป็นยุคที่มีการรวบรวมความคิดต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่ราว 500 ปีก่อน ค.ศ. เป็นต้นมา ในยุคนี้มีวรรณคดีและผลงานต่าง ๆ เกิดขึ้นมาก แต่มีความแน่นอนน่าเชื่อถือน้อยกว่าผลงานยุคแรก ในยุคสันสกฤตนี้ เราอาจจะแบ่งได้เป็น 2 ระยะ ย่อยคือ ระยะก่อนระบบปรัชญา และระยะปรัชญา 6 ระบบ
ในปรัชญาอินเดียอุดมไปด้วยความคิดและมีความแตกตางกันในทางปฏิบัติมากมาย แต่อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะหรือ 2 กลุ่มคือ
อาสติกะ ได้แก่ กลุ่มความคิดที่มีบ่อเกิดจากพระเวทหรือยมรับความศักดิ์สิทธิ์ของพระเวทเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพวกในจารีต ได้แก่ปรัชญา 6 ระบบของอินเดีย
นาสติกะ ได้แก่ พวกที่ไม่ได้มีบ่อเกิดจากพระเวท ไม่ยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของพระเวท และเป็นความคิดที่ต่อต้านพระเวท ได้แก่ พุทธปรัชญา ปรัชญาเชน และลัทธิจารวาก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พวกนอกรีต
ความคิดทั้ง 2 กลุ่มนี้ แม้จะมีความแตกต่างกันในเรื่องบ่อเกิดและความหมายทั่ว ๆ ไป แต่ก็มีลักษณะบางอย่างร่วมกัน ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นลักษณะพื้นฐานของปรัชญาอินเดีย ดังนี้
ศาสนาและปรัชญาไม่แยกจากกันเพราะจุดหมายปลายทางของศาสนาและปรัชญานั้นเหมือนกัน นั่นคือ การแสวงหาอันเป็นแก่นหรือหัวใจของสภาวธรรม
ศาสนาและปรัชญาไม่แยกจากกันเพราะจุดหมายปลายทางของศาสนาและปรัชญานั้นเหมือนกัน นั่นคือ การแสวงหาอันเป็นแก่นหรือหัวใจของสภาวธรรม
จุดหมายอันแท้จริงของปรัชญาคือ โมกษะ มิใช่เป็นเพียงการรู้แจ้งด้วยปัญหาเท่านั้น ฉะนั้น ปรัชญาอินเดีย จึงมิใช่เป็นการรู้เพื่อรู้แต่รู้เพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุดเท่าที่มนุษย์จะพึงได้ในชีวิตนี้
จุดหมายของปรัชญาอินเดียอยู่เหนือจริยศาสตร์และตรรกศาสตร์ เพราะปรัชญาอินเดียมิได้เกิดจากความประหลาดใจใคร่จะรู้ แต่เกิดจากความบังคับหรือความจำเป็นของชีวิต อันเป็นผลจากความประจักษ์ความชั่วในแง่ศีลธรรมและความทุกข์ในชีวิต การขบคิดทางปรัชญาจึงเป็นการพยายามหาทางแก้ปัญหาชีวิตมากกว่าที่จะขบคิดปัญหาทางอภิปรัชญา ส่วนเรื่องทางอภิปรัชญาเป็นสิ่งที่ตามมาภายหลัง
ปรัชญาเป็นแนวทางชีวิตมิใช่เป็นเพียงแนวคิดเท่านั้น ทั้งนี้เพราะเมื่อจุดหมายของปรัชญาคือโมกษะ ฉะนั้นปรัชญาจึงพยายามวางแนวทางในการปฏิบัติเพื่อดำเนินไปสู่โมกษะนั้น ดังปรัชญาเชนที่ว่า “อย่ามีชีวิตเพื่อรู้ แต่จงรู้เพื่อมีชีวิต”
ความหมายของปรัชญาในอินเดียนั้น มิใช่เป็นเพียงเรื่องของพุทธิปัญญาหรือศีลธรรมจรรยาเท่านั้น แต่เป็นทั้งสองอย่างรวมกัน และเหนือขอบเขตของทั้งสองอย่างนั้นไปอีกด้วย กล่าวคือ ปรัชญาเป็นทั้งเรื่องของทฤษฎีและการปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุดที่ตรรกศาสตร์และจริยศาสตร์มิอาจจะทำให้บรรลุถึงได้
คุณค่าของปรัชญา อยู่ที่การโน้มน้าวบุคคลให้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ สอนให้รู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้ และทำให้เป็นในสิ่งที่ไม่เคยเป็น
จุดสุดยอดของความคิดทางปรัชญาของอินเดีย คือเวทานตะ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ เอกนิยมกับจักษุนิยม ความคิดของเวทานตะเป็นการแสดงให้เห็นว่า ความคิดที่มีชัยชนะเป็นขั้นสุดท้ายในอินเดียนั้น คือ อสัมพัทธนิยม (Absolutism) และเทวนิยม (theism)
ปรัชญาอินเดียกับปรัชญาตะวันตก
ต่อมาจึงเชื่อว่า ธรรมชาติผู้-เมียเป็นตัวก่อให้เกิดโลก ต่อมาจึงมีความคิดเกี่ยวกับจิต (บุรุษ) ซึ่งเป็นตัวผู้ สสารหรือรูปธาตุ (ประกฤติ) ซึ่งถือว่าเป็นตัวเมีย ความคิดในลักษณะนี้เป็นปรากฏอยู่ในหลายชาติจึงน่าจะเป็นได้ว่า วิวัฒนาการทางปรัชญานั้นเองเกิดขึ้นในชาตินั้น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยรับเอามาจากชาติอื่น
ข้อสังเกต อียิปต์กับเมโสโปเตเมีย (อิรัก) เป็นอารยชนมาแต่โบราณ แต่ไม่ปรากฏว่าให้ปรัชญาอะไรแก่โลกเลย ดินแดนของพวกกรีก ซึ่งเป็นคาบสมุทรกรีกและตุรกีในปัจจุบันเดิมเป็นที่อาศัยของพวกทราวิทมาก่อน แล้วพวกกรีกอพยพมาอยู่ที่หลังเมื่อราว 1,500 ปีก่อน ค.ศ. จึงน่าคิดว่าพวกกรีกพัฒนาปัญญาของตนเองโดยการรับเอาปัญญาของชาติอื่นมาอีกทีหนึ่ง โดยเฉพาะก็คือปัญญาของอินเดีย เพราะปรัชญากรีกเกิดร่วมยุคกับพุทธศาสนา และความคิดที่สำคัญ ๆ เกิดหลังพุทธกาลทั้งนั้น
ปรัชญาของอินเดียนั้นมีมาก่อนพุทธกาล คือปรัชญาพระเวทและอุปนิษัท มาถึงยุคพุทธกาลจึงเกิดปรัชญา 6 ระบบ ปรัชญาอินเดียจึงน่าจะถ่ายเทไปสู่พวกกรีกด้วยโดยผ่านทางเปอร์เชียไปสู่ตุรกีอันเป็นถิ่นของพวกกรีก เมื่อพวกกรีกเสื่อมอำนาจลง วิทยาการของพวกกรีกถ่ายทอดไปสู่พวกอาหรับ แล้วพวกยุโรปจึงได้รับเอาจากอาหรับไปพัฒนาเป็นวิทยาการสมัยใหม่อีกทีหนึ่ง ในศตวรรษที่ 16 พวกยุโรปเริ่มศึกษาเรื่องของอินเดีย ถึงศตวรรษที่ 18 พวกยุโรปจึงได้เริ่มแปลงานของชาวอินเดียเป็นภาษายุโรปโดยเฉพาะก็คือชาวเยอรมัน
เปรียบเทียบ ปรัชญาอินเดียกับปรัชญากรีก
- ความคิดเรื่องการดูดของแม่เหล็กเหมือนกับความคิดของสางขยะ
- ความคิดเรื่องน้ำเป็นปฐมธาตุของสิ่งทั้งปวงก็มีปรากฏอยู่ในพระเวท
- ความคิดของอแมกซิเมเพสเรื่องอากาศหรืออีเธอร์เป็นปฐมธาตุของโลกก็มีปรากฏอยู่ในอุปนิษัทและเวทานตะ
- นักคิดในสำนักนี้เชื่อว่ามีวิญญาณหรือเชื่อชีวิตอยู่ในธาตุต่าง ๆ ทั้งสิ้น ความคิดนี้ก็คล้ายกับเรื่องบุรุษมีอยู่ในสิ่งทั้งปวงนั่นเอง
ความคิดของพวกอีเลียติก (540 BC) ก็คล้ายกับพรามวิทยาหรือเวทานตะ คือพูดถึงมายา (ปรากฏการณ์ทางผัสสะ) และเน้นความสำคัญของเหตุผลมากกว่าความประจักษ์ทางอายตนะทั้ง 5
ความคิดของเฮราไคลตุส (544-484 ก่อน ค.ศ.) ก็คล้าย ๆ กับพุทธปรัชญาคือพูดถึงความเปลี่ยนแปลงว่าเป็นความจริงของจักรวาล และถือว่าไฟเป็นธาตุดั้งเดิม ในอรรถกถาของพระพุทธศาสนาก็มีกล่าวถึงโลกว่าเริ่มต้นด้วยไฟและสลายไปด้วยไฟเช่นกัน เฮราไคลตุสพูดถึงโลกว่าประกอบด้วยสิ่งที่ตรงกันข้ามกัน ซึ่งในพุทธศาสนาก็มีกล่าวถึงสิ่งตรงกันข้ามกันไว้มากมาย เช่น กุศล-อกุศล, อณหเตโช-สีตเตโช เป็นต้น และความคิดเหล่านี้พุทธสาสนาได้สอนไว้ก่อนเฮราไคลตุสนมนานและเป็นคำสอนที่มีอยู่ในลัทธิเต๋าด้วย
อ-แนกซ์กอรัส (500-428 BC) ก็กล่าวถึงเรื่องเม็ดสสารหรือเม็ดธาตุเล็ก ๆ ไว้คล้ายกับความคิดเรื่องกลละของพระอภิธรรม และถือว่าสสารจะเกิดจากอสสารไม่ได้
เอมพิลโดเดลส (484-424 BC) มีคำสอนคล้ายลัทธิไวเศษิก แต่ไม่พิสดารเท่า
เดโมคริตุส (460-370 BC) ได้เสนอความคิดเรื่องปรมาณูไว้คล้ายกับความคิดของไวเศษิกและสางขยะ และความคิดเรื่องปรมาณูของพุทธศาสนาด้วย แต่เขาไม่เชื่อเรื่องคุณสมบัติของปรมาณู โดยเขาเชื่อว่าลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุนั้นมนุษย์เห็นไปเอง ส่วนในเรื่องวิญญาณเดโมคริตุสมีความคิดคล้ายกับเรื่องสุขุมสรีระของสางขยะ
นักคิดสำนักต่าง ๆ ของกรีกดังกล่าวมาข้างต้น ล้วนเกิดขึ้นภายหลังพุทธกาลทั้งนั้น สมัยของพุทธกาล คือ 623-543 ก่อน ค.ศ.
พวกโสฟิตส์นั้นคล้าย ๆ กับพวกปริทาชกในอินเดียและไม่ได้เสนอความคิดทางปรัชญาอย่างเป็นระบบใด ๆ เลย ความคิดทางตรรกของโสคราติส (469-399 ก่อน ค.ศ.) นั้นคล้ายกับความคิดของลัทธินยายะ ส่วนความคิดเชิงปรัชญาของเขาคล้ายปรัชญาพราหมณ์ และความคิดเกี่ยวกับมนุษย์และโลกของเขาคล้ายกับความคิดของลัทธิโลกายตะ คือมุ่งความสุขเฉพาะหน้า แต่ดีกว่าโลกายตะตรงที่เขาเน้นเรื่องคุณธรรม
พลาโต (427-360 ก่อน ค.ศ.) มีความคิดเรื่องสัจจะหรือความจริงคล้าย ๆ กับพุทธปรัชญา คือถือว่าความจริงมี 2 ระดับ คือความจริงระดับผัสสะกับความจริงระดับเหตุผลคล้ายความจริงระดับสมมติกับระดับปรมัตถ์ของพุทธศาสนา แต่ความหมายต่างกันมาก ความจริงของพลาโตมีลักษณะเป็นสัสตะ ส่วนความคิดทางการเมืองของเขากว้างขวางกว่าความคิดของชาวอินเดีย
อริสโตเติล (384-322 BC) ยอมรับความเปลี่ยนแปลงของโลกว่าเป็นจริง คล้ายความคิดเรื่องอนิจจังของพุทธศาสนา มีความคิดเรื่องสาเหตุของความเปลี่ยนแปลงของโลกว่าเป็นจริง คล้ายความคิดเรื่องอนิจจังของพุทธศาสนา แต่เขากลับเชื่อเรื่องพระเจ้าทำนองเดียวกับเรื่องบุรุษของสางขยะ อันเป็นเหตุให้สสารหรือประกฤติเปลี่ยนแปลง
ความคิดของเอนิตโลรัส (342-270 BC) คล้ายกับลัทธิไวเศษิก มีความเชื่อเรื่องเหตุผลคล้ายพุทธศาสนา แต่มีความคิดทางจริยศาสตร์คล้ายพวกจารวาก. แต่เรื่องจุดหมายปลายทางของชีวิตกลับไปคล้ายกับโมกษะของฮินดู
พวกกรีกมีความคิดเรื่องวิวัฒนาการละเอียดกว่าพุทธปรัชญา แต่อธิบายขบวนการวิวัฒนาการสู้หลักปฏิจจสมุปบาทไม่ได้
ความคิดทางการแพทย์ของพวกกรีกก็คล้าย ๆ กับอายุรเวทของอินเดีย พวกกรีกจึงน่าจะได้ความคิดเหล่านี้ไปจากอินเดีย เพราะฮิปโปคราสติส (430 BC) ผู้วางรากฐานการแพทย์ของกรีกอยู่ที่เกาะ Cos ซึ่งติดกับฝั่งทะเลตุรกี
เปรียบเทียบ ปรัชญาอินเดียกับปรัชญาสมัยกลาง
แมกพุสมีแนวความเชื่อคล้ายมีมอส คือให้เชื่อความรู้ที่ได้มาจากการบันดาลใจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อะครีปัส (1225-1274) มีความเชื่อบางอย่างคล้ายพุทธศาสนา คือเรื่องภพภูมิต่าง ๆ ที่มนุษย์จะเข้าถึงได้ มีความเชื่อเรื่องเทวบันดาลคล้ายกับเวทานตะ คือโลกเป็นไปตามเทวบันดาลของพระเจ้า พวกสกอลาสติก มี 2 พวก คือพวกที่มีความคิดตามแนวของพลาโต กับพวกที่มีความคิดตามแนวของอริสโตเติล
- พวกที่เป็นตามแนวคิดของพลาโตเรียกตัวเองว่า Realism เพราะถือว่าเป็นผู้เข้าถึงสัจจะได้สูงกว่าพวกอื่น (ความหมายกลับกันกับที่ใช้ในปัจจุบัน)
- พวกที่เป็นตามแนวของอริสโตเติลนั้นเรียกว่า Nominalism คือพวกที่ถือว่าความจริงคือสิ่งที่ปรากฏต่อผัสสะ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือสิ่งที่มีชื่อคือสิ่งที่จริง
ความคิดเรื่องนี้ของพวกสมัยกลางก็คล้ายกับความคิดของปรัชญาพราหมณ์ที่ว่า “สิ่งใดมีชื่อ สิ่งนั้นเป็นนาม สิ่งใดไม่มีชื่อ อันพึงรู้ได้ด้วยรูป สิ่งนั้นเป็นรูป”
เปรียบเทียบ ปรัชญาอินเดียกับปรัชญาสมัยใหม่
ความคิดของเบคอน (1561-1626) คล้ายกับลัทธินยายะ ไวเศษิก กล่าวคือความคิดทางวิทยาศาสตร์ของเขาคล้ายนยายะและสสารนิยมของเขาก็คลายกับไวเศษิก นอกจากนี้เบคอนยังเชื่อพระเจ้าด้วย (ศตวรรษที่ 17)
เดดาริต (1596-1650) ก็เสนอความคิดแบบทวินิยมเหมือนลัทธิสางขยะ เพราะฉะนั้นความคิดของเดดาริตจึงมิใช่ของใหม่อย่างที่ชาวโลกเชื่อถือกัน ความคิดเรื่องจิตกับกายของเดดาริตก็เหมือนกับความคิดเรื่องบุรุษกับประกฤติ ส่วนความคิดเรื่องพระเจ้าของเขาก็เหมือนกับปรัชญาเวทานตะ แต่ความคิดทางกลไกลของเขาละเอียดกว่าของอินเดีย (ไวเศษิก)
สสารนิยมของฮอบส์ (1588-1679) ก็คล้ายกับความคิดของจารวาก ถือว่าจิตเกิดจากสสาร ความคิดเน้นการเคลื่อนไหลของมันสมอง
จิตนิยมของสปิโนช (1632-1677) ก็เท่ากับเอาเวทานตะมาผสมกับสางขยะ ความคิดทางจริยศาสตร์ของเขาก็เหมือนกับของฮินดู
ความคิดของล้อด (1632-1704) บางอย่างก็คล้ายกับพุทธศาสนา เช่นเรื่องคุณภาพชั้นต้น อารมณ์หรือ ideal ส่วนจิตวิทยาของเขาก็คล้ายกับของฮินดู
ลัทธิโมนาดของไลม์นิช (1646-1716) กลับถอยหลังไปหาปรัชญาพระเวท อย่างที่ฤคเวทกล่าว “บุรุษยิ่งใหญ่กว่าสิ่งทั้งปวง สถิตอยู่ในสิ่งทั่วไปทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต” คำอธิบายเรื่องโมนาดย่อยโมนาดใหญ่ของเขาก็คือเรื่องชีวาตมันกับปรมาตมันนั้นเอง
ความคิดเรื่องแรงโน้มถ่วงของนิวตัน (Newton)ก็มีอยู่ในลัทธิไวเศษิกแล้ว ความดึงดูดระหว่างสิ่งต่าง ๆ ก็มีกล่าวไว้ในอภิธรรมว่า คืออาโปชตุ ความคิดเรื่องอากาศของนิวตันก็มีอยู่ในปรัชญาฮินดู ความคิดเกี่ยวกับการแบ่งส่วนใหญ่ออกเป็นส่วนย่อยอันไม่มีที่สิ้นสุด (infinitesimal) ก็มีปรากฏอยู่ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของรูปนาม และเรื่องขณะจิตของพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าจึงเป็นคนแรกที่แบ่งสันตติของรูปนามออกเป็นขณะ ๆ นิวตันเชื่อว่ามีบางสิ่งที่อยู่กับที่ แต่พระพุทธเจ้าสอนว่าทุกสิ่งเคลื่อนไหว ส่วนเรื่องปฏิกิริยาเท่ากับกิริยานั้น ก็คล้ายกับคำสอนเรื่องกรรมและกรรมวิบากของพุทธศาสนานั้นเอง
จิตนิยมของเนิดเล่ย์ (1685-1753) ก็คล้ายกับความคิดของพุทธศาสนามหายานซึ่งเป็นผลของการปรับพุทธศาสนาให้เข้ากับเวทานตะ แต่มหายานไม่ไกลกว่าเวทานตะเสียอีก คือปฏิเสธโลกภายนอกเอาเลยคือถือว่า รูปไม่มี มีแต่นามอย่างเดียว
ความคิดของฮิวม์ (1711-1776) ก็เหมือนกับอเหตุกทิฏฐิ อกิริยทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐินั่นเอง เพราะฮิวม์บอกว่าไม่มีอะไรนอกจากความคิด (หรืออารมณ์) ล้วนไม่มีสสาร ไม่มีจิต มีแต่ความคิด ทุกอย่างสลายไปกับความตาย
คานต์ (1724-1804) ได้เสนอความคิดเรื่อง กาลและอวกาศเป็นคนแรกในยุโรป แต่ความคิดนี้ก็มีอยู่ในลัทธิไวเศษิกแล้ว และความคิดนี้ก็กลายเป็นคำสอนเรื่องบัญญัติของพุทธปรัชญาด้วย คำสอนเรื่องโลกและวิญญาณของคานต์ก็คล้ายกับเรื่องบุรุษและประกฤติของสางขยะ ความคิดเรื่องของคานต์ก็คล้าย ๆ กับเรื่องปัฏฐาน 24 ของพุทธศาสนา
ความคิดของนักคิดเยอรมันคือ Fickte Sohelling Hegel (1775, 1770) มีความคล้ายคลึงกับปรัชญาเวทานตะหรือพรามวิทยามาก
ปรัชญาประวัติศาสตร์ของเฮเกล คล้ายกับลัทธิอวตารของฮินดู ส่วนความคิดเรื่องไดอะเล็กติกของเขาก็เหมือนกับความคิดเรื่อง สินาสยะของนยายะ ซึ่งถือว่า ความจริงได้จากการพิจารณาเรื่องที่ขัดแย้งกัน
ความคิดของนักคิดเรื่องสสารนิยมทางประวัติศาสตร์ของพวกมากซิสต์ก็คล้ายกับความคิดเรื่องยุคต่าง ๆ ในปรัชญาฮินดู ที่แบ่งยุคออกเป็น กฤตยุค ทวาพรยุค ไตรดายุค กลียุค แต่พวกมากซิสต์แบ่งกลียุคไว้ละเอียดกว่า ส่วนความคิดเรื่องสังคมนิยมนั้น พวกพราหมณ์และพวกพุทธก็ได้กล่าวไว้นมนานมาแล้ว สสารนิยมไดอะเล็กติกจึงเท่ากับเป็นพัฒนาการขั้นสูงสุดของลัทธิจารวาก
ความคิดเรื่อง วิวัฒนาการของดาร์วิน (1809-1882) ก็คล้ายกับความคิดเรื่องพืชนิยมของพุทธศาสนา
ความคิดของพวกสัจนิยมในศตวรรษที่ 20 นี้ก็คล้ายกับความคิดของพุทธศาสนา คือยอมรับความมีอยู่ของสิ่งที่ปรากฏทั้งที่เป็นสสารและอสสาร โดยที่สิ่งทั้งสองมิได้สร้างซึ่งกันและกัน แต่ต่างก็มีอยู่ด้วยกัน
1. ศึกษาเชิงภาษาเปรียบเทียบ (Philological approach) เป็นการหาความเข้าใจปรัชญาจากการศึกษาคำศัพท์ในระบบปรัชญาที่ต่างกัน แมกซ์ มีลเลอร์, บลูมฟิลด์ ใช้วิธีการนี้
2. ศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ (Historical approach) ศึกษาเกี่ยวข้องกันทางประวัติศาสตร์ อันจำทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความคิดต่างระบบและเห็นการเกิดขึ้นของความคิดใหม่ ๆ ในระบบนั้น ๆ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร
3. ศึกษาเชิงเปรียบเทียบโดยตรง (Comparative approach) เป็นการเปรียบเทียบกันระหว่างระบบความต่างวัฒนธรรม หรือระหว่างระบบความคิดในวัฒนธรรมเดียวกัน จะทำให้เห็นความเหมือนระหว่างระบบความคิดตลอดไปจนถึงสาเหตุของความเหมือนความต่างเหล่านั้น
4. ศึกษาเชิงบูรณาการ (Integrative approach) พิจารณาโลกทัศน์หรือชีวทัศน์ทุกแห่งทุกมุมเพื่อที่จะได้รู้ว่าระบบชีวิตนั้น ๆ มีปรัชญาอะไรอยู่เบื้องหลังหรือว่ามีปรัชญาอะไรเป็นรากฐาน น๊อตชร๊อป เชลตัน ใช้วธีนี้
5. ศึกษาเชิงประเมินค่าตามระบบ (Formal evaluative approach)เป็นการพิจารณาความสมเหตุสมผลของระบบ ตลอดถึงการแก้ปัญหาชีวิตและความสำเร็จในการแก้ปัญหาของปรัชญาแต่ละระบบว่ามีมากน้อยเพียงไร
6. ศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological approach)เป็นการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างนักคิดกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ระหว่างแนวคิดกับระบบระหว่างระบบกับลัทธิธรรมเนียม ซึ่งจะทำให้เห็นขบวนกากรของพัฒนาการของปรัชญาระบบนั้น ๆ
7. ศึกษาเชิงจิตวิทยา (Psychological approach) เป็นการพิจารณาพฤติกรรมของปัจเจกชนที่มีต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะเน้นในแง่ความผิดปกติของคน เช่น กรณีของนิตเช่ เป็นต้น
8. ศึกษาเชิงสังคม-มานุษยวิทยา (Socio-Anthropological approach) เป็นการพิจารณาในแง่ที่ว่า สภาพสังคมได้มีบทบาทต่อระบบความคิดของนักคิดอย่างไรบ้าง ความคิดได้เปลี่ยนแปลงคล้อยตามสังคมไปอย่างไร
ศิลปะในวิธีการศึกษา นอกจากจะใช้การเทียบเคียงหรือเปรียบเทียบแล้วก็จะต้องใช้เหตุผล วิพากษ์วิจารณ์ ตีความ เพราะปรัชญาเปรียบเทียบเป็นปรัชญา
1. ใช้ปรัชญาของตนเองเป็นมาตรฐาน (ones own philosophy as standard) หลักที่ไม่ค่อยดีเพราะสุดท้ายก็จะกลายเป็นว่าความคิดของตนถูกต้อง ของคนอื่นผิดหมด เลยไม่ได้ความคิดอะไรใหม่ ๆ ขึ้นมาเลย
2. ไม่ค่อยมีมาตรฐานใด ๆ (no standard) หลักนี้กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือใช้หลักสัมพัทธนิยมนั่นเอง
3. ใช้ลักษณะสากลเป็นมาตรฐาน (universal traits as standard) คือถือว่าลักษณะที่ปรากฏอยู่ในความคิดทั้งหลาย ยืนยงมาแต่อดีตจนปัจจุบันเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบ เพราะลักษณะเช่นนั้นกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะสากล แต่หลักนี้ในทางปฏิบัติจริง ๆ แล้วก็ทำได้ยากเหมือนกัน
4. ใช้ลักษณะพิเศษเป็นมาตรฐาน (universal traits as standard) คือเอาลักษณะพิเศษที่มีอยู่ในระบบปรัชญาหรือวัฒนธรรมนั้น ๆ มาเป็นมาตรฐานหรือเป็นหลักในการเปรียบเทียบ หลักอันนี้ก็ไม่ค่อยดีนัก เพราะหากหาลักษณะพิเศษไม่ได้ก็หาที่เปรียบเทียบไม่ได้นั่นเอง
5. ใช้ลักษณะเลือกสรรเป็นมาตรฐาน (selected traits as standard) คือเลือกเอาบางเรื่องบางประเด็นมาเปรียบเทียบกัน อาจจะเป็นการเริ่มจากเรื่องง่าย ๆ ไปหาเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ทางใดทางหนึ่ง หรือเรื่องที่น่าสนใจเป็นต้น
ความคิดของนักคิดเยอรมันคือ Fickte Sohelling Hegel (1775, 1770) มีความคล้ายคลึงกับปรัชญาเวทานตะหรือพรามวิทยามาก
ปรัชญาประวัติศาสตร์ของเฮเกล คล้ายกับลัทธิอวตารของฮินดู ส่วนความคิดเรื่องไดอะเล็กติกของเขาก็เหมือนกับความคิดเรื่อง สินาสยะของนยายะ ซึ่งถือว่า ความจริงได้จากการพิจารณาเรื่องที่ขัดแย้งกัน
ความคิดของนักคิดเรื่องสสารนิยมทางประวัติศาสตร์ของพวกมากซิสต์ก็คล้ายกับความคิดเรื่องยุคต่าง ๆ ในปรัชญาฮินดู ที่แบ่งยุคออกเป็น กฤตยุค ทวาพรยุค ไตรดายุค กลียุค แต่พวกมากซิสต์แบ่งกลียุคไว้ละเอียดกว่า ส่วนความคิดเรื่องสังคมนิยมนั้น พวกพราหมณ์และพวกพุทธก็ได้กล่าวไว้นมนานมาแล้ว สสารนิยมไดอะเล็กติกจึงเท่ากับเป็นพัฒนาการขั้นสูงสุดของลัทธิจารวาก
ความคิดเรื่อง วิวัฒนาการของดาร์วิน (1809-1882) ก็คล้ายกับความคิดเรื่องพืชนิยมของพุทธศาสนา
ความคิดของพวกสัจนิยมในศตวรรษที่ 20 นี้ก็คล้ายกับความคิดของพุทธศาสนา คือยอมรับความมีอยู่ของสิ่งที่ปรากฏทั้งที่เป็นสสารและอสสาร โดยที่สิ่งทั้งสองมิได้สร้างซึ่งกันและกัน แต่ต่างก็มีอยู่ด้วยกัน
ปรัชญาเปรียบเทียบ
วิธีการในปรัชญาเปรียบเทียบ
2. ศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ (Historical approach) ศึกษาเกี่ยวข้องกันทางประวัติศาสตร์ อันจำทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความคิดต่างระบบและเห็นการเกิดขึ้นของความคิดใหม่ ๆ ในระบบนั้น ๆ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร
3. ศึกษาเชิงเปรียบเทียบโดยตรง (Comparative approach) เป็นการเปรียบเทียบกันระหว่างระบบความต่างวัฒนธรรม หรือระหว่างระบบความคิดในวัฒนธรรมเดียวกัน จะทำให้เห็นความเหมือนระหว่างระบบความคิดตลอดไปจนถึงสาเหตุของความเหมือนความต่างเหล่านั้น
4. ศึกษาเชิงบูรณาการ (Integrative approach) พิจารณาโลกทัศน์หรือชีวทัศน์ทุกแห่งทุกมุมเพื่อที่จะได้รู้ว่าระบบชีวิตนั้น ๆ มีปรัชญาอะไรอยู่เบื้องหลังหรือว่ามีปรัชญาอะไรเป็นรากฐาน น๊อตชร๊อป เชลตัน ใช้วธีนี้
5. ศึกษาเชิงประเมินค่าตามระบบ (Formal evaluative approach)เป็นการพิจารณาความสมเหตุสมผลของระบบ ตลอดถึงการแก้ปัญหาชีวิตและความสำเร็จในการแก้ปัญหาของปรัชญาแต่ละระบบว่ามีมากน้อยเพียงไร
6. ศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological approach)เป็นการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างนักคิดกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ระหว่างแนวคิดกับระบบระหว่างระบบกับลัทธิธรรมเนียม ซึ่งจะทำให้เห็นขบวนกากรของพัฒนาการของปรัชญาระบบนั้น ๆ
7. ศึกษาเชิงจิตวิทยา (Psychological approach) เป็นการพิจารณาพฤติกรรมของปัจเจกชนที่มีต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะเน้นในแง่ความผิดปกติของคน เช่น กรณีของนิตเช่ เป็นต้น
8. ศึกษาเชิงสังคม-มานุษยวิทยา (Socio-Anthropological approach) เป็นการพิจารณาในแง่ที่ว่า สภาพสังคมได้มีบทบาทต่อระบบความคิดของนักคิดอย่างไรบ้าง ความคิดได้เปลี่ยนแปลงคล้อยตามสังคมไปอย่างไร
ศิลปะในวิธีการศึกษา นอกจากจะใช้การเทียบเคียงหรือเปรียบเทียบแล้วก็จะต้องใช้เหตุผล วิพากษ์วิจารณ์ ตีความ เพราะปรัชญาเปรียบเทียบเป็นปรัชญา
มาตรฐานในการเปรียบเทียบ
อาร์ดิ เจ บาม เสนอมาตรฐานในการเปรียบเทียบไว้ 9 แบบคือ
1. ใช้ปรัชญาของตนเองเป็นมาตรฐาน (ones own philosophy as standard) หลักที่ไม่ค่อยดีเพราะสุดท้ายก็จะกลายเป็นว่าความคิดของตนถูกต้อง ของคนอื่นผิดหมด เลยไม่ได้ความคิดอะไรใหม่ ๆ ขึ้นมาเลย
2. ไม่ค่อยมีมาตรฐานใด ๆ (no standard) หลักนี้กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือใช้หลักสัมพัทธนิยมนั่นเอง
3. ใช้ลักษณะสากลเป็นมาตรฐาน (universal traits as standard) คือถือว่าลักษณะที่ปรากฏอยู่ในความคิดทั้งหลาย ยืนยงมาแต่อดีตจนปัจจุบันเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบ เพราะลักษณะเช่นนั้นกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะสากล แต่หลักนี้ในทางปฏิบัติจริง ๆ แล้วก็ทำได้ยากเหมือนกัน
4. ใช้ลักษณะพิเศษเป็นมาตรฐาน (universal traits as standard) คือเอาลักษณะพิเศษที่มีอยู่ในระบบปรัชญาหรือวัฒนธรรมนั้น ๆ มาเป็นมาตรฐานหรือเป็นหลักในการเปรียบเทียบ หลักอันนี้ก็ไม่ค่อยดีนัก เพราะหากหาลักษณะพิเศษไม่ได้ก็หาที่เปรียบเทียบไม่ได้นั่นเอง
5. ใช้ลักษณะเลือกสรรเป็นมาตรฐาน (selected traits as standard) คือเลือกเอาบางเรื่องบางประเด็นมาเปรียบเทียบกัน อาจจะเป็นการเริ่มจากเรื่องง่าย ๆ ไปหาเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ทางใดทางหนึ่ง หรือเรื่องที่น่าสนใจเป็นต้น
6. การใช้อุดมคติเหนือวัฒนธรรมต่าง ๆ เป็นมาตรฐาน (an ideal standard) คือการใช้อุดมคติที่เป็นกลางไม่ลำเอียงไปทางวัฒนธรรมใด ๆ วัฒนธรรมหนึ่งเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบ แต่ก็เป็นการยากที่จะหาอุดมคติเช่นนี้ได้ในทางปฏิบัติ
7. การใช้ลักษณะทั้งหมดเป็นมาตรฐาน (all traits as standard) คือศึกษาเปรียบเทียบกันทุกเรื่อง แต่หลักนี้ก็ออกจะเป็นการทำได้ยากและเกินความจำเป็น
8. การใช้ปรัชญาโลกเป็นมาตรฐาน (developed world philosophy as standard) คือใช้ปรัชญาสากล หรือปรัชญาอันยุติแน่นอนตายตัวแล้วเป็นมาตรฐาน แต่หลักอันนี้ก็คงจะเป็นเพียงความฝันมากกว่าความเป็นจริง
9. การใช้ลักษณะที่เปรียบเทียบกันมาแล้วในอดีตเป็นมาตรฐาน (previously compared traits as standards) คือการใช้ทรรศนะอันเป็นผลของการเปรียบเทียบที่ได้เคยมีผู้ทำไว้แล้วในอดีตมาเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบ ข้อเสียของหลักอันนี้ก็คืออาจจะทำให้เรากลายเป็นผู้ติดในแบบแผนหรือความคิดเก่า ๆ มากเกินไปจนมองไม่เห็นความคิดใหม่ ๆ
กล่าวโดยสรุป ทุกมาตรฐานแล้วมีข้อบกพร่องด้วยกันทั้งนั้น ความต้องการของปรัชญาเปรียบเทียบ คือต้องการความแจ่มแจ้งในความคิดและความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างบุคคลต่างวัฒนธรรมกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น